วันที่ 15 มีนาคม 2013 เป็นวันธรรมดาวันหนึ่งในไซปรัส เป็นวันศุกร ..คนทั่วไปกำลังเตรียมพักผ่อนสุดสัปดาห์
พอเช้าวันรุ่งขึ้น ทั้งประเทศตื่นมาพบกับเรื่องสยองขวัญ
พวกนักการเมืองไม่หลับไม่นอนในคืนที่ผ่านมา พยายามต่อรองกับพวกให้กู้ต่างประเทศขอเงินกู้ฉุกเฉินให้กับธนาคารต่างๆของประเทศ
ผลปรากฏว่าธนาคารทั้งหมดในไซปรัสพากันล้มละลายในวันรุ่งขึ้น เหมือนกับแบ้งค์ทั้งหลายในสหรัฐในช่วงวิกฤติซับไพร์มเมื่อปี 2008 ..แบ้งค์ในไซปรัสตัดสินใจทำเรื่องงี่เง่ากับเงินออมของผู้ฝากจนเสียหาย
แล้วพอมาถึงปี 2013 ความเสียหายก็มากเกินกว่าจะทำเป็นไม่เห็นได้อีก..
ที่ร้ายกว่านั้นคือ รัฐบาลไซปรัสก็ถังแตกซะด้วย ไม่สามารถจะช่วย bail-out พวกธนาคารได้เลย
พวกเขาจึงได้ความคิดบรรเจิด แทนที่จะใช้เงินรัฐช่วย bail-out แบ้งค์ ..รัฐบาลกลับใช้วิธี bail-in เงินออมของผู้ฝากซะเลย (ยึดเงินฝากน่ะแหละ)
เริ่มแรก...ปิดธนาคารทุกแห่ง ..ตู้ ATM เงินหมดเกลี้ยงในพริบตา และใช้งานไม่ได้อีกเลย ..จากนั้นก็ยึดเงินฝาก โดยเรียกมันให้ฟังดูดีว่า "ภาษี" เพื่อช่วยชาติ แต่มันก็คือ "ปล้น" นั่นแหละ ฟังง่ายกว่ากันเยอะ
รัฐบาลก็แค่ฉวยเงินฝากพวกนี้จากบัญชีของผู้ฝาก ..แล้วค่อยส่งไป bail-out แบ้งค์ต่างๆ อีกที
มันเป็นบทเรียนที่สำคัญบทหนึ่งเกี่ยวกับแบ้งกิ้ง: คนทั่วๆไปคิดว่าธนาคารที่เขามีบัญชีอยู่นี่น่ะ มั่นคงน่าเชื่อถือมาก เพราะมันถูกจัดระเบียบ..ควบคุม และค้ำประกันโดยรัฐบาล เงินของเขาปลอดภัยแน่ๆ
แต่นั่นเป็นสมมติฐานที่อันตรายมาก
แม้แต่ในสหรัฐ การตัดสินใจแบบโง่ๆของแบ้งค์ก็จะทำให้มันพังได้เลย ..เมื่อเดือนกันยายน 2008 ระบบการเงินของสหรัฐพังลงในชั่วข้ามคืน เหมือนกับไซปรัส
เหตุผลคือ ธนาคารไม่มีแรงจูงใจในธุรกิจในแบบอดีตอีกแล้ว และไม่มีความระมัดระวังรับผิดชอบในเงินออมของผู้ฝากเหมือนที่เคยเป็นมา
คิดดู คุณเดินเข้าไปในแบ้งค์ ส่งเช็คเงินเดือนเข้าบัญชี แลกกับการเปิดบัญชี checking account
พวกเขาใช้เงินของคุณไปเสี่ยง จนสามารถสร้างตึกขนาดใหญ่ และจ่ายโบนัสก้อนใหญ่กับพนักงานได้
เขาใช้เงินฝากของคุณๆ ปล่อยสินเชื่อ ทั้งพันธบัตร สินเชื่อรถยนตร์ จำนองบ้าน และการลงทุนอื่นๆ ..ทั้งหลายเหล่านี้มาพร้อมกับความเสี่ยง
ถ้าแกล้งทำเป็นไม่รู้ ก็คงจะโง่ไปซักหน่อย..ความเสี่ยงเกิดขึ้นได้กับเงินของเราได้ทุกๆด้านเลย ไม่ว่าจะซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซื้อหุ้นบริษัทแอ้ปเปิ้ล หรือแม้แต่ซุกไว้ใต้ที่นอน ..มันเสี่ยงทั้งนั้นแหละ
และพวกเขาก็เอาไปเสี่ยงถึงกว่า 97% ของเงินฝาก
กฏข้อบังคับของธนาคารสหรัฐ ให้คงสำรองเงินฝากของลูกค้าในแบ้งค์ได้แค่ 0% ...หมายความว่าเงินฝากทั้งหมดที่มีเอาไปเดิมพันได้เลย ลงทุนในสิ่งที่ให้ผลได้มากที่สุดละกัน ไม่ว่าจะเสี่ยงแค่ไหน
และนั่นคือปัญหา: วัตถุประสงค์เดิมๆมันผิดไปหมดแล้ว
แบ้งค์เอาเงินผู้ฝากไปเสี่ยง ยิ่งเสี่ยงมากผลประโยชน์ยิ่งมาก แต่ไม่มีการแบ่งผลให้คุณๆเจ้าของเงินฝากนั้นเลย ..สิ่งที่คุณได้คือ ดอกเบี้ยในอัตราที่น่าสมเพทคือ 0.02%
ผมเองไม่มีประเด็นต่อธุรกิจที่ทำผลประโยชน์หรอก เพราะนั่นมันคือระบบทุนนิยม ...แต่ผลที่ได้ควรจะสัมพันธ์กับลูกค้าซึ่งเป็นเจ้าของเงินอย่างเหมาะสม
ลูกค้าได้ผลตอบแทนน้อยนิดตราบใดที่เงินทุนยังปลอดภัยอยู่ หรืออย่างน้อยก็มีการชดใช้ถ้าสูญไป ...แต่ธนาคารกลับเป็นฝ่ายได้ผลตอบแทนมหาศาลโดยเสี่ยงด้วยเงินคนอื่น ถ้าสูญก็ไม่ต้องชดใช้
โมเดลแบบนี้ มันเจ๊งเห็นๆ
แบ้งค์แต่ละแห่งไม่ได้สร้างมาเท่าเทียมกันหรอก บางแห่งก็มีขอบข่ายอำนาจที่มากกว่าแห่งอื่นๆ
ธนาคารที่มีฐานะแข็งแกร่งจะมี "มูลค่าสุทธิ" ที่สูง มีฐานะของทุนที่เป็นเปอร์เซนต์สูงในทรัพย์สิน ..นี่คือ "อัตราความเข้มแข็ง" (solvency ratio) ซึ่งถ้าจะสูงจริง..ก็ควรจะต้องเป็นเลขสองหลัก
มีหลายแบ้งค์มากที่มี solvency ratio แค่ 5% หรือต่ำกว่านั้น ..นี่หมายความว่าถ้าธนาคารแห่งนี้สูญการลงทุนไปมากกว่า 5% ของมูลค่า ..ก็คงจะไปไม่รอด
เป็น margin of safety ที่แย่มากๆ
ตัวอย่างของธนาคารที่ดีแห่งในของอเมริกาคือ USAA Federal Savings Bank ซึ่งมี solvency ratio ประมาณ 20% ..ถือเป็น margin of safty ที่แกร่งมากๆ
นอกจากนี้ สภาพคล่องของธนาคารก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ..ธนาคารที่มีสภาพคล่องสูงหมายถึงมีสำรองในมือที่สูงมากในอัตราส่วนของเงินฝากทั้งหมด
และธนาคารที่มีรัศมีทำการไกลออกไปถึงต่างประเทศ ก็จะมีหลักประกันจากธนาคารกลางของประเทศที่แข็งกว่าหรือมีความเสถียรทางการเงินมากกว่า
ในสหรัฐเอง ธนาคารกลาง Federal Reserve มีสถานะทางการเงินที่ง่อนแง่นมาก เดือนกันยายนปีที่แล้ว Fed รายงานถึงผลขาดทุน $66,500 ล้าน ที่ทำให้ทุนของ Fed $39,100 ล้านหายวับไปเลย
พูดอีกอย่างหนึ่ง..ธนาคารกลางที่เป็นผู้ออกกฏและหนุนระบบแบ้งกิ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก...กำลังล้มละลาย
นอกจากนี้..FDIC (Federal Deposit Insurance Corporation..สำนักงานประกันเงินฝาก) ซึ่งน่าจะต้องค้ำประกันเงินฝากหลายล้านล้านดอลล่าร์ในระบบแบ้งกิ้งของสหรัฐ..แต่กลับออกมายอมรับในรายงานประจำปีว่า กองทุนของตนไม่สามารถประกันในวิกฤติระบบแบ้งกิ้งได้
และเหนือสิ่งอื่นใด...เรามีรัฐบาลกลางสหรัฐ ซึ่งมีมูลค่า #ติดลบ ถึง $75 ล้านล้าน
สรุปแล้ว สหรัฐอเมริกามี: ธนาคารที่ฉ้อฉลมากมาย ..balance sheets ที่เป็นปัญหาเต็มไปหมด ..ธนาคารกลางที่ล้มละลาย ..กองทุนประกันเงินฝากที่ไม่มีทุนเหลิอ ..และรัฐบาลที่ล้มละลาย
เป็นที่เหมาะที่จะเก็บเงินออมของเราไว้เลยนะนี่..perfect
Cr.Sayan Rujiramora
Source:https://www.sovereignman.com/.../heres-an-easy-way-to.../...