นักวิจารณ์และพวกอิลิทจากธนาคารกลางมักจะเรียกทองคำว่า สิ่งตกทอดยุคโบราณ (barbaric relic) แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าทองคำเป็นทรัพย์สินที่จะต้องวิ่งเข้าหาเป็นอย่างแรกในช่วงวิกฤต

และแม้ยิ่งทำเป็นเกลียดมากเท่าไหร่ พวกอิลิทก็ยิ่งแอบเก็บสะสมทองคำมากเท่านั้น เมื่อเห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มมีปัญหา ที่จริงแล้ว จากการสังเกตุว่าธนาคารกลางเริ่มมีการสต้อคทองคำในปริมาณที่มากขึ้นเมื่อไหร่เราก็ทำนายถึงสภาพเศรษฐกิจที่กำลังจะเป็นได้ทันทีเลย

พวกแบ้งเกอร์นี่แหละที่รู้ดีถึงความเลวร้ายทางเศรษฐกิจที่กำลังจะมา เพราะว่าพวกนี้เองที่เป็นผู้สร้างขึ้นมากับมือหรือมีส่วนร่วมอยู่ด้วย เพราะงั้นพวกนี้จึงมักจะรู้ล่วงหน้าว่าเมื่อไหร่ที่ควรจะ hedge (ป้องกันความเสี่ยง) ทรัพย์สินของตนต่อวิกฤตที่กำลังมา และทองคำนี่แหละที่จะเป็นตัว hedge ที่ดีที่สุดเพราะมันจับต้องได้ เป็นธรรมชาติและทำเทียมไม่ได้ รัฐบาลและธนาคารจะวิ่งหาทองคำทุกครั้งเมื่อเกิดความไม่มั่นคง เพราะมันไม่เพียงปกป้องทรัพย์สินได้เท่านั้น แต่ยังปกป้องอำนาจของพวกเขาไว้ได้ด้วย

ในโลกซึ่งประชาชนส่วนใหญ่กำลังอยู่บนขอบเหวของความยากจน พวกที่มีฐานะที่มั่นคงทางทรัพย์สินอยู่แล้ว กลับยิ่งเก็บสะสม hard assets ราคาถูกเพิ่มมากขึ้นอีก ไม่ต้องไปพูดถึงพวกนักการเมืองที่บ้าอำนาจเลย

เมื่อ gap ทางฐานะยิ่งห่างออก gap ทางอำนาจก็ห่างตามไปด้วย ไม่ใช่ว่าพวกอิลิทจำเป็นต้องครอบครองทรัพย์สินไว้ทำประโยชน์อะไรหรอก แต่พวกเขาแค่ไม่ต้องการให้ #คุณ น่ะแหละครอบครองทรัพย์สินได้

ทำไมน่ะหรือก็เพราะ hard assets ทั้งหลายถูกดูดโดยพวกแบ้งเกอร์ไปหมดแล้ว พวกเขาพยายามไม่ให้มีคอนเซ็ปท์เรื่องทรัพย์สินส่วนบุคคลหลงเหลืออยู่ในความคิดของสาธารณชนอีก และนี่จะเป็นการทำลายอิสรภาพของคุณ ๆ

ในอีกแค่ชั่วอายุเดียว คนเจ็นฯ ต่อไปก็จะไม่มีไอเดียว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือบ้านคืออะไร การเป็นเจ้าของทรัพย์สินหมายความว่าอะไร แล้วในที่สุด ประชาชนทั้งหลายก็จะตกอยู่ในสังคมที่มีเศรษฐกิจร่วมกัน แค่สามารถมีที่ซุกหัวนอนส่วนบุคคลแบบ "pod apartment" ได้ มี WiFi ใช้และสามารถเข้าถึงการขนส่งมวลชนได้ ความคิดที่จะปลูกบ้านของตนเองเพื่อลูกหลานตามแบบบรรพชนก็จะไม่มีอีก นี่จะทำให้การสร้างครอบครัวเปลี่ยนโฉมไปเลย ประชาชนต้องพึ่งพารัฐในเกือบทุกเรื่อง

รูปแบบการปกป้องและการกวาดเก็บทองคำของธนาคารกลาง ทำให้เห็นถึงช่วงเวลาที่น่าจะเกิดขึ้นของวิกฤต ที่ผ่านมา ในเกือบทุกครั้งก่อนมีวิกฤต ทุนสำรองทองคำของธนาคารกลางมักจะพุ่งขึ้นสูง และราคาก็สูงขึ้นตามมา

เช่นในปี 1913 (ปีเกิดของ Federal Reserve) ธนาคารกลางในหลาย ๆ ประเทศมีการซื้อเข้าทองคำอย่างเร่งด่วน นำไปสู่..การแครชรุนแรงในปี 1914 ..สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และการระบาดของไข้หวัดสเปนปี 1918-1920 สหรัฐเพิ่มทองคำเข้าทุนสำรองจำนวน 650 ตันในปี 1913 และอีก 1,000 ตันตั้งแต่ปี 1915-1920

และจากการใช้มาตรฐานทองคำและการ peg ค่าเงินดอลล่าร์กับทองคำ ราคาทองคำในช่วงนั้นจึงไม่ค่อยผันผวนมากนัก วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตอนนั้นมันรุนแรงขนาดตลาดหุ้นนิวยอร์คปิดไปถึง 4 เดือนเต็ม จากกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน 1914 ยังไม่เคยมีเรื่องชัตดาวน์แบบนี้เกิดขึ้นมาก่อนหรือหลังจากนั้นเลย ทองคำจึงเป็นสิ่งแรกที่เข้าปกป้องความเสี่ยงไว้ได้ แต่การ export ทองคำก็ถูกยับยั้ง

เรื่องเดียวกันนี้เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อโลกเข้าสู่ Great Depression ในช่วงปี 1930s ..Federal Reserve และกระทรวงการคลังได้เพิ่มทองคำอีก 2,700 ตันตั้งแต่ 1930 ถึง 1935 และเพิ่มไปอีกเท่าตัวจาก 9,000 ตันเป็น 19,000 ตันตั้งแต่ปี 1935 จนถึงเริ่มสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อปี 1939 มีการกำหนดราคาทองคำใหม่จาก $20 ต่อออนซ์เป็น $35 ต่อออนซ์ตั้งแต่ปี 1932 ถึงปี 1934 ถึงแม้ว่าปธน.แฟรงกลิน รูสเวลท์จะจำกัดการถือครองทองคำของส่วนบุคคลผ่านทาง Executive Order 6102 ..การแบนนี้ไม่ได้ยกเลิกอย่างเป็นทางการอยู่ถึงสี่สิบปี แต่การซื้อขายทองคำในตลาดมืดก็มีอยู่ทั่วไป

อีเว้นท์รุนแรงครั้งหนึงที่เกิดขึ้นระหว่างทองคำกับวิกฤตการณ์ของโลกคือเมื่อปี 1962 เป็นวิกฤตขีปนาวุธในคิวบาที่ไปจุดชนวนดีมานด์ทองคำสูงเป็นประวัติการณ์ในตลาดลอนดอน ธนาคารกลางเริ่มกดราคาทองคำโดยการขายส่วนที่อยู่ในรีเสิร์ฟที่เรียกว่า "The Gold Pool" ซึ่งนี่เป็นเรื่องปกติของการกดราคาโดยการขายสร้างซัพพลาย ในเมื่อราคามันสูงเกินไป ..ไม่จำเป็นต้องเป็นความต้องการของธนาคารกลางเสมอไป

แต่การกดราคาทองคำที่ทำอยู่เวลานี้ สามารถทำได้ตราบเท่าที่ตลาดกระดาษ ETF และตลาดทองคำ physical มันเกาะติดควบคู่กันอยู่ ถ้าเกิดวิกฤตใหญ่ ๆ สักครั้ง มันถึงจะมีพลังมากพอที่จะทำให้ตลาดกระดาษและตลาด physical แตกออกจากกันได้ และเมื่อนั้นราคาทอง physical จะพุ่งสูงจนถึงจุดที่คนจะคิดว่านั่นคือ safety แล้ว

ราคาทองในตลาดเสรีมักจะยืนอยู่ได้ไม่นาน ตราบที่ธนาคารกลางยังเข้ามาควบคุมตลาดอยู่ การทำกำไรช่วงสั้น ๆ เป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับ timing

ในปี 1968 The Gold Pool ก็หมดสต้อก มันจบลงในตอนที่สงครามเวียตนามเข้ามาเป็นประเด็นขัดแย้งนานาชาติ และการระบาดของไข้หวัดใหญ่ฮ่องกงในหลายประเทศคร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 1 ล้านคน ในช่วงเวลานี้ ราคาทองคำพุ่งขึ้น 22% และมีการเทรดในปริมาณมากของธนาคารกลาง และจากนั้นมา รีเสิร์ฟทองคำของธนาคารกลางต่าง ๆ ก็ลดลงไปเรื่อย ๆ อย่างช้า ๆ

แต่เทรนด์นี้เพิ่งมากลับทิศอย่างกระทันหันในช่วงสิบปีหลังมานี้เอง

ในช่วงที่เกิดเศรษฐกิจถดถอยและวิกฤตเงินเฟ้อ เมื่อ 1978-1980 ราคาทองคำพุ่งขึ้น 29% ในปี 1978 ..120% ในปี 1979 ..และ 29% อีกครั้งในปี 1980 ...พอถึงตอนแครชเมื่อปี 1987 มันก็ขึ้นไปอีก 24%

มีการขึ้นราคาไปอีกจากปี 2002 -2003 หลังการล่มสลายของฟองสบู่ดอทคอม เพิ่มขึ้นมากกว่า 40% เมื่อสหรัฐเข้าสู่สงครามกับทั้งอัฟกานิสถานและอิรัก ...เป็นช่วงเวลานี้ด้วยที่ธนาคารกลางเริ่มสะสมทองคำเป็นรีเสิร์ฟอีกครั้ง แต่ส่วนใหญ่แล้วกลับเป็นจีนและรัสเซีย ...พวกธนาคารซื้อเข้าทองคำในปี 2018 มากกว่าตลอดห้าสิบปีที่แล้วรวมกันเสียอีก

ราคาที่ขึ้นสูงในครั้งต่อมา ตั้งแต่ปี 2009 -2012 ยังคงอยู่ในความทรงจำของพวกเราส่วนใหญ่ ...มันกระโดดไปถึง 70% ในช่วงเครดิตล่ม แต่แล้วพวกแบ้งค์ก็สามารถกดมันกลับลงมาจนได้ ....และยังมี "experts" บางคนออกมาประกาศว่าราคาทองคำจะร่วงลงต่ำกว่า $1,000 ต่อออนซ์ .....ที่จริง "experts" เหล่านี้เคยทำนายว่าทองคำจะร่วงลงต่ำกว่า $1,000 ทุกปีมาตลอด 7 ปีแล้ว ..ไม่เข็ด

ทำไมหรือ ..ก็เพราะธนาคารกลางกำลังเข้าซื้อกันเป็นทวีคูณเลย และเพราะว่าระบบเศรษฐกิจของโลกกำลังอยู่ในฐานะย่ำแย่ตั้งแต่การแครชเมื่อปี 2008 ...ราคาทองคำไม่มีทางที่จะตกกลับไปที่ระดับของเมื่อก่อนเกิดวิกฤตได้อีกแล้ว..ในเมื่อเศรษฐกิจยังไม่มีเสถียรภาพ และปัญหาตั้งแต่ปี 2008 ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข

สองปีก่อนนี้..ตอนที่ Federal Reserve เริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยและลดขนาดของ Balance Sheet ..สื่อเศรษฐกิจกระแสหลักยืนยันว่าราคาทองคำต้องร่วงลงอย่างแรง ดูเหมือนสื่อพวกนี้จะไม่เข้าใจถึงธรรมชาติของทองคำในยามวิกฤต ...Fed ยิ่งบีบสภาพคล่องจนทำให้เศรษฐกิจอ่อนแอ ตลาดก็ยิ่งผันผวน ภาคการผลิตและ GDP เริ่มตกลง และก็เหมือนกระดานหก ราคาทองคำพุ่งขึ้นสวนทาง

ราคาขึ้นจาก $1200 ในเดือนกันยายน 2018 ไปถึง $1,600 ยาวตลอดทั้งปี แต่ธนาคารกลางก็ยังคงซื้อทองคำไม่ว่าราคาจะขึ้นไปเท่าไหร่ พวกเขาคงรู้ดีในสิ่งที่พวกเรา ๆ แค่สงสัย

ดูจากเทรนด์ในอดีตที่แสดงให้เห็นข้างต้น การทำนายสิ่งที่จะเกิดในอนาคตก็ไม่น่าจะยาก การระบาดของโคโรน่าไวรัสกำลังจะถูกขึ้นป้ายเป็นโรคระบาดระดับโลก ..การทำ repo ของ Fed ก็ไม่ได้บรรเทาประเด็นของสภาพคล่องให้กับระบบแบ้งกิ้งของสหรัฐได้เลย ..หนี้ของบริษัทเอกชนและส่วนบุคคลสูง all-time-high ..อังกฤษก็จะออกจาก อียูแบบ No Deal Brexit ..และสหรัฐก็เตรียมกองทัพในตะวันออกกลางเพื่อปิดล้อมอิหร่าน ...ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งมาแล้ว..เรายังไม่เคยเห็นวิกฤตมันเกิดขึ้นเป็นแพคเกจรวมได้พร้อมกันแบบนี้เลย

มันก็เมคเซ้นส์อยู่นะ ว่าทองคำจะเป็นทรัพย์สินอันดับหนึ่งในการมาปกป้องความมั่งคั่งของคุณ ๆ ...อย่าลืมว่าพวกธนาคารกลางน่ะ..แม่งโคตรฉลาด....


Cr.Sayan

0 Share