เคล็ดลับการสร้างปรัชญาการลงทุนของตัวเอง
วันก่อนนั่งอ่านบทความของ ดร.นิเวศน์ นักลงทุนรุ่นใหญ่ของเมืองไทย ให้แนวคิดเรื่อง ปรัญชาการลงทุน ไว้ได้ดีมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมหลงใหลที่สุดในเรื่องการลงทุน

.
.
เพราะผมเชื่อว่าทุกๆคนควรจะมีปรัชญาการลงทุนเป็นของตัวเอง

...

ปรัชญาการลงทุนเป็นสิ่งหนึ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการลงทุนในระยะยาว เพราะมันก็คือ “พื้นฐานความคิดเรื่องการลงทุนของตัวเอง” 
.
แน่นอนว่าการลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนแต่ละคนก็มีความสามารถในการรับความเสี่ยงที่ต่างกัน มีปัจจัยมากมายที่ส่งผลให้แต่ละคนรับความเสี่ยงได้ต่างกัน 
.
ทั้งความรู้ ไลฟ์สไตล์ เป้าหมายทางการเงิน ครอบครัว เป็นต้น 
.
ทำให้แต่ละคนมีชุดความคิดในเรื่องการลงทุนที่ต่างกันไป
.
ปรัชญาการลงทุน ของแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน การนำปรัชญาการลงทุนของนักลงทุนชื่อดังที่ประสบความสำเร็จมาใช้ ไม่สามารถการันตีได้ว่าเราจะประสบความสำเร็จตามเขาได้ 100% 
.
เพราะชุดความคิดเรื่องการลงทุนของเราไม่เหมือนกันกับเขา การลอกเลียนแบบแนวความคิดจึงไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์

แล้วเราจะหา ปรัชญาการลงทุน ของตัวเองได้จากไหนล่ะ?
.
.
ผมไม่ได้บอกว่าการลอกเลียนแบบแนวความคิดเป็นสิ่งไม่ดี เพราะนั่นคือสิ่งที่เราควรทำเพื่อหาปรัชญาในการลงทุนของตัวเองให้เจอ 
.
การลอกเลียนแบบและนำมาใช้จะช่วยให้เกิดปรัชญาการลงทุนของตัวเองได้ นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากมายต่างก็มีปรัชญาเป็นของตัวเอง 
.
พวกเขาสร้างมันขึ้นมาจากแนวความคิดของคนอื่นเหมือนกันนั่นแหละ
.
เพียงแต่ว่าเขานำความคิดต้นแบบ มารวบรวมกัน และต่อยอดในสิ่งที่เขาเห็นว่ามันดีกับแนวทางการลงทุนของเขา
.
อย่างเช่น วอเรนต์ บัฟเฟตต์ แนวความคิดในการลงทุนพื้นฐานมาจากอาจารย์ของเขา เบนจามิน เกรแฮม 
.
แต่โชคดีที่บัฟเฟตต์เป็นปราชญ์ผู้ชื่นชอบการเรียนรู้ 
.
เขานำแนวความคิดของ ฟิลิป ฟิชเชอร์, จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์, ลอว์เรนซ์ บลูมเบิร์ก และ ชาร์ลี มังเกอร์ รวมถึงแนวคิดต้นแบบของหลายๆคนที่ผมไม่ได้กล่าวถึง มาใช้กับแนวทางการลงทุนของตัวเอง
.
สุดท้ายแล้วแนวคิดทั้งหมดก็กลายมาเป็นปรัชญาการลงทุนของวอเรนต์ บัฟเฟตต์ ที่นักลงทุนหลายคนในยุคปัจจุบันเลือกที่จะทำตาม และมีคนนำมันมาต่อยอดจนประสบความสำเร็จอีกมากมาย
.
เช่น โมห์นิช พาไบร เจ้าของหนังสือนักลงทุนดันโด ที่สร้างปรัชญาใหม่ร่วมกับแนวความคิดของชาวอินเดีย
.
ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการสร้างปรัชญาการลงทุนของตัวเองก็คือ “วัตถุดิบ” ที่เกิดจากการเรียนรู้แนวความคิดหลายๆแห่ง และนำมาใช้กับตัวเอง ถ้าแนวทางไหนไม่เวิร์คกับตัวเราเองก็ตัดมันทิ้งไป แนวความคิดไหนที่ใช่เราก็เก็บมันมาใช้พัฒนาต่อ 
.
จนสุดท้ายที่เราค้นพบปรัชญาในการลงทุนของตัวเอง เราก็มีโอกาสทำผลตอบแทนตามที่ต้องการได้อย่างมีความสุขในระยะยาว
.
พยายามอ่านหนังสือ ดูคลิปการลงทุน เพื่อหาแนวทางที่ใช่ ทดลองลงทุนตามวิธีการต่างๆ และคัดเลือกวิธีการที่ไม่ใช่ออกไป ยิ่งเยอะยิ่งดี

จะว่าไปแล้วปรัชญาของนักลงทุนต้นแบบก็เหมือนเมนูอาหารต้นตำรับ การจะนำมาพัฒนาและต่อยอดให้เกิดเป็นเมนูใหม่ที่อร่อยกว่าเดิม ก็ต้องใช้วัตถุดิบที่ดีและศาสตร์การทำอาหารต่างๆมาผสมผสานให้เกิดเป็นจานใหม่ 
.
ระหว่างทางอาจจะมีของเสียออกมาบ้าง
.
แต่ถ้าไม่หยุดพัฒนาเราก็จะได้เมนูที่สมบูรณ์แบบในที่สุด
.
ปั้นเงิน
...


#นายปั้นเงิน #ARTISANMONEY

Cr.นายปั้นเงิน

——————————————                                                                            ———————————————

ติมตามข่าวสารการเงิน เศรษฐกิจรอบโลกได้ที่ คลิ๊ก
เข้ากลุ่มนักเทรดใน Facebook คลื๊ก นี้


 

0 Share