จากกราฟนั้นจะเห็นว่า “ราคาบ้านและอสังหาริมทรัพย์ของปีที่แล้ว 2018 เข้าปี 2019 นี้นั้นราคาสูงกว่าในปี 2008 ที่เกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” มากนัก ที่ตอนนั้นลามไปสู่จากอสังหาริมทรัพย์ไปหาภาคการเงิน จากอเมริกาไปทั่วโลก ที่แปลว่ากำลังสู่โซนอันตราย “ก่อนฟองสบู่แตกอีกครั้ง”

แต่นักลงทุน ก็ยังชะล่าใจเพราะเชื่อว่าปัจจัยอื่นๆยังคงเอื้ออุ้ม เช่น

“รายได้ส่วนบุคคล” และ “ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล” รวมถึงรายได้ส่วนบุคคลที่หักรายจ่ายแล้ว” จะเพิ่มขึ้นดังนั้นพวกเขาเชื่อว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มขึ้นของราคาบ้านและการเพิ่มขึ้นของรายได้นั้นยังคงแข็งแกร่งอยู่” ( รายได้ที่เพิ่มมากขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะบริษัทขึ้นเงินเดือนให้พนักงาน ก็เพราะนโยบายของ ทรัมป์ ที่ลดภาษีบริษัท บรรษัทขนาดใหญ่ เพราะกระตุ้นการกลับมาจ้างงานในประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่จีรังยั่งยืนระยะยาว ตัวเลขในตลาดหุ้นนั้นผลประกอบการและเงินปันผลน้อย ดังนั้นเงินที่เพิ่มเป็นเงินฟรีจากทรัมป์ระยะสั้น )

นอกจากนั้น “ตัวเลขเศรษฐกิจอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า “ตลาดที่อยู่อาศัยมีการชะลอตัว” ก็จริงแต่การชะลอตัวนี้ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับในอดีตและไม่ใช่จากภาพรวมที่กว้างขึ้น” ( แม้จะเริ่มการเติบโตจะชะลอตัวลงกลัวฟองสบู่แตก แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก )

เขายังมองแบบสบายใจอีกว่า การเคลื่อนไหวของ “อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นของเฟด จากปีที่แล้ว 2018” นั้นไม่ได้ขัดขวางการขยายการสร้างโครงการต่างๆของอสังหาริมทรัพย์

แต่นักวิเคราะห์บางสายมองว่าการที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังพุ่งสูงเกินระดับวิกฤติครั้งที่แล้วที่ผู้คนยังชะล่าใจ ปล่อยให้มีการสร้างบ้านคอนโดมีเนียมมาเรื่อยๆแบบช้าๆ ไม่ยอมหยุดสร้าง อาจจะเป็น “ความเงียบก่อนพายุใหญ่” ที่ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยอีกครั้งแบบในปี 2008 ก็ได้

 

Cr.Jeerachart Jongsomchai

0 Share