ผู้เชี่ยวชาญชี้ โครงการ "เส้นทางสายไหมใหม่" ของจีน สามารถเป็น "ตัวเปลี่ยนเกม" หากบรรดาประเทศ กำลังพัฒนาในเอเชียใช้โครงการนี้ เพื่อกระตุ้นเงินทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่โครงการนี้ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงเช่นกัน
กาเนชาน วิญญาราชา ผู้อำนวยการบริหาร ของสถาบันลักษมัน กทิรคามาร์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและศึกษายุทธศาสตร์ (แอลเคไอ) ในศรีลังกา ระบุว่า ความเสี่ยงเหล่านี้อาจมีผลต่อความยั่งยืน ของหนี้สาธารณะ ความตึงตัวของระบบการเงิน ของประเทศ ทำลายสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ
"หนึ่งในผลลัพธ์จากเรื่องนี้คือ หากประเทศต่างๆ เปิดรับโครงการ โครงสร้างพื้นฐานจากนอกประเทศ พวกเขา จะต้องทำการบ้านอย่างหนัก" วิญญาราชา เผยกับเว็บไซต์นิกเกอิ เอเชียน รีวิว เมื่อเร็วๆ นี้
ผู้เชี่ยวชาญรายนี้ เสริมว่า ประเทศต่างๆ ต้องพิจารณาวิธีการหาเงินทุนภายในประเทศและการวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน ของตน เช่นเดียวกับการพัฒนาทักษะ คนท้องถิ่น เนื่องจากจีนมักเป็นฝ่าย บริหารจัดการและก่อสร้างโครงการเส้นทางสายไหมใหม่ หรือ "บีอาร์ไอ"
ส่วนมูลค่าของบีอาร์ไอซึ่งเต็มไปด้วย เงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมหาศาลสำหรับเชื่อมโยงเอเชียกับยุโรปและแอฟริกา วิญญาราชาคาดการณ์ว่าอยู่ที่ระหว่าง 3.5 แสนล้านดอลลาร์ ถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์
"บางคนคาดว่าบีอาร์ไอจะอยู่ในกรอบแคบๆ เพียงโครงการท่าเรือและทางรถไฟ ขณะที่กลุ่มอื่นๆ คาดว่าจะครอบคลุมถึงโครงการพลังงานด้วย"
อย่างไรก็ตาม วิญญาราชา ระบุว่า โครงการของรัฐบาลปักกิ่งยังไม่เพียงพอที่จะ อุดช่องว่างในการระดมทุนโครงสร้างพื้นฐาน ในเอเชียใต้ ซึ่งอยู่ระหว่าง 1.7-2.5 ล้านล้านดอลลาร์
"บีอาร์ไอเป็นประโยชน์ต่อการอุด ช่องว่างโครงสร้างพื้นฐานบางส่วนในฐานะ ตัวขับเคลื่อนเพิ่มเติม และสามารถเป็น ตัวเปลี่ยนเกมเหมือนกับโครงการโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ได้ด้วย" ผู้เชี่ยวชาญชาว ศรีลังกาเผย และเสริมว่า ปัญหาสำหรับ เอเชียใต้คือ จริงอยู่ที่ประเทศในภูมิภาคต้องการเงินทุน แต่ไม่ได้ต้องการแรงงานจากจีน
วิญญาราชากล่าวว่า โครงการของจีน จะมาพร้อมกับแรงงานชาวจีน ปัจจัยขาลง อื่นๆ รวมไปถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เกี่ยวกับการระดมทุนและการทำลาย สิ่งแวดล้อม
"ประเทศที่ดำเนินโครงการหรือจีน อาจไม่เปิดเผยเงื่อนไขของโครงการ เรา รู้เรื่องกรอบเวลาแต่ไม่รู้เงื่อนไขทางการเงิน อย่างละเอียด" วิญญาราชาระบุ และว่า "จากนั้นก็อาจเกิดประเด็นหนี้สาธารณะขึ้นในประเทศ และแน่นอนว่าจะเกิดประเด็นภูมิยุทธศาสตร์ด้วย"
โครงการบีอาร์ไอที่กำลังเดินหน้าอยู่ในเอเชียใต้ขณะนี้ รวมไปถึงท่าเรือฮัมบันโตตาในศรีลังกา และท่าเรือกวาดาร์ในปากีสถาน ทั้ง 2 โครงการนี้ทำให้เพื่อนบ้านอย่างอินเดียกังวลว่าจีนอาจล่วงละเมิดอธิปไตยและ ความมั่นคงของตน
Source: กรุงเทพธุรกิจ
- After Italy, Malta says it's considering joining China's Belt and Road investment scheme : https://www.cnbc.com/…/after-italy-malta-says-its-looking-a…