ซึ่งคณะกรรมการ FOMC ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 2.00–2.25 ด้วยมติเป็นเอกฉันท์ สรุปสาระสำคัญดังนี้

1. ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ
คณะกรรมการประเมินว่า ข้อมูลทางเศรษฐกิจตั้งแต่การประชุมครั้งก่อนหน้า ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องในลักษณะ “strong rate” เช่นเดียวกับภาคการใช้จ่ายผู้บริโภค ในขณะที่ภาคการลงทุนชะลอตัวลงจากช่วงก่อนหน้าที่ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ คณะกรรมการเห็นว่าข้อมูลทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาสะท้อนถึงภาพรวมทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนักจากการประเมินครั้งก่อนหน้า โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังคงสามารถเติบโตอยู่เหนือระดับศักยภาพได้อย่างต่อเนื่องก่อนที่จะชะลอตัวลงกลับเข้าใกล้ trend ในช่วง medium term โดยปัจจัยที่สนับสนุนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้แก่ 
1) ตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง 
2) นโยบายด้านภาษีและการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลัง 
3) ความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงต่อเนื่อง นอกจากนี้ “several participants” เห็นว่าผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลังของรัฐบาลที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง กอปรกับผลของการส่งผ่านนโยบายการเงินจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เริ่มชัดเจนขึ้น จะส่งผลให้เศรษฐกิจค่อยๆ กลับเข้าใกล้สู่ระดับศักยภาพ

2. ภาคการใช้จ่ายผู้บริโภค: คณะกรรมการระบุว่ายังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งจากรายงานที่ได้รับจากภาคธุรกิจ

3. ภาคการลงทุน: ชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 3 หลังจากที่ขยายตัวอย่างมากในช่วงครึ่งแรกของปี โดย “several participants” ระบุถึงปัจจัยกดดันต่างๆ เช่น ภาษีศุลกากรที่สูงขึ้น ความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้า การชะลอตัวของอุปสงค์ทั่วโลก การปรับสูงขึ้นของราคาต้นทุนการผลิต และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น

นอกจากนี้ “most participants” ระบุถึงความอ่อนแอของภาคการลงทุนภาคที่อยู่อาศัย ซึ่งได้รับปัจจัยกดดันจากการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อและต้นทุนการก่อสร้าง รวมถึงข้อจำกัดด้านอุปทาน

ทั้งนี้ คณะกรรมการบางส่วนเห็นว่า การขยายตัวของภาคการลงทุนสามารถผันผวนได้ในแต่ละไตรมาส โดยนโยบายการลดภาษีนิติบุคคลของรัฐบาลและ sentiment ของภาคธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับสูง จะยังคงเป็นปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวของภาคการลงทุนได้ต่อไปในระยะข้างหน้า

ทางด้านรายงานจากผู้ประกอบการระบุว่า ภาคอุตสาหกรรม ภาคพลังงาน และภาคบริการยังคงขยายตัวได้ดี โดยในภาพรวมภาคธุรกิจยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อสภาพเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าจะมีความกังวลในเรื่องของนโยบายการค้าของรัฐบาล การชะลอตัวลงของอุปสงค์จากต่างประเทศ และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ในส่วนของภาคการเกษตรนั้นยังคงอ่อนแออยู่ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการนโยบายการค้าและรายได้การเกษตร

ความเสี่ยงต่อภาพรวมเศรษฐกิจเป็นไปในลักษณะ “roughly balanced” เช่นเดียวกับการประชุมครั้งก่อนหน้า อย่างไรก็ดี “a few participants” ระบุถึงความไม่แน่นอนที่ปรับสูงขึ้น จากผลของการดำเนินนโยบายการคลังและนโยบายการค้า นอกจากนี้ “some participants” มองว่ามีโอกาสที่สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. จะแข็งค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ ในส่วนของ upside risks คณะกรรมการระบุว่า ผลของการนโยบายการคลังที่เกินกว่าคาดการณ์ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจในระดับที่สูง จะสามารถทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงกว่าคาดการณ์ได้

4. ภาคการจ้างงาน
คณะกรรมการเห็นพ้องว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวแข็งแกร่งขึ้นต่อเนื่องจากการประชุมครั้งก่อนหน้า สะท้อนจากตัวเลขการจ้างงานที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นในเดือน ต.ค. ตำแหน่งงานที่เปิดมากขึ้น และอัตราการเปลี่ยนงานที่สูงขึ้น โดยอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่สุดในประวัติการณ์ นอกจากนี้ labour force participation rate ยังได้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดย “a couple of participants” คาดว่าจะยังคงปรับสูงขึ้นต่อไปได้ จากเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งส่งผลให้มีแรงงานกลับเข้าสู่ตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ดี คณะกรรมการบางส่วนเห็นว่า labour force participation rate อาจจะไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นได้มากอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการในหลายภูมิภาคยังคงรายงานถึงภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัวและปัญหาขาดแคลนแรงงานคุณภาพ ซึ่งแก้ไขปัญหาโดยการเพิ่มการอบรมพัฒนาทักษะแรงงาน การเพิ่มค่าจ้าง รวมถึงการ outsource งานเพื่อผลิตภายนอก และเพิ่มระบบ automation ในการผลิตมากขึ้น ในเรื่องของอัตราค่าจ้าง คณะกรรมการเห็นสัญญาณของการปรับตัวสูงขึ้น สอดคล้องกับแนวโน้มของ productivity growth และอัตราเงินเฟ้อ

5. อัตราเงินเฟ้อ
โดยภาพรวมคณะกรรมการเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในระยะ 12 เดือนข้างหน้า จะเคลื่อนไหวเป็นไปตามการคาดการณ์ ในระดับใกล้เป้าหมายที่ร้อยละ 2 ได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับรายงานจากผู้ประกอบการในหลายภูมิภาคที่ยังคงระบุถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากราคาต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้น โดยส่วนหนึ่งมาจากผลของการปรับขึ้นภาษีศุลกากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่พึ่งพาการนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการบางส่วนระบุว่าการส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นไปยังผู้บริโภคยังมีอยู่อย่างจำกัด ทั้งนี้ “some participants” เห็นว่า Resource utilization ที่ตึงตัว และความสามารถของผู้ผลิตในการปรับราคาสินค้าที่มากขึ้น จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่สูงกว่าการคาดการณ์ได้ นอกจากนี้ “a couple participants” ได้แสดงความกังวลถึงตัวชี้วัดของเงินเฟ้อคาดการณ์ที่จะอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากการชะลอตัวของเศรษฐกิจมีมากกว่าที่คาดการณ์ไว้

6. Financial Conditions & Financial Stability
คณะกรรมการเห็นว่า financial conditions ตึงตัวขึ้น “somewhat tighter” จากการประชุมครั้งก่อนหน้า จากผลของ 
1) การปรับลดลงในราคาดัชนีตลาดหลักทรัพย์ 
2) อัตราดอกเบี้ยระยะยาวและต้นทุนการกู้ยืมที่ปรับเพิ่มขึ้น และ 
3) การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ สรอ.

อย่างไรก็ดี “A number of participants” ยังคงมองว่า financial conditions เป็นไปในลักษณะ accommodative เมื่อเทียบกับในอดีต โดยความเสี่ยงหลักต่อเสถียรภาพตลาดการเงินสามารถเกิดจาก 
1) การปรับสูงขึ้นของราคาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ 
2) corporate bond spread ที่ปรับแคบลง และ 
3) การเติบโตอย่างต่อเนื่องของ leveraged loans

อนึ่ง “a few participants” คาดว่าปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวมีแนวโน้มส่งผลต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจมากกว่าเสถียรภาพทางการเงิน ขณะที่ “a couple of participants” เห็นว่าปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงิน และระบบเศรษฐกิจโดยรวมมีความสัมพันธ์กัน ทั้งนี้ “a couple of participants” คาดว่ารายงาน Financial Stability Report ที่มีกำหนดเผยแพร่สู่สาธารณะเป็นครั้งแรกในเร็วๆ นี้ จะช่วยให้การทำงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในส่วนของการดูแลเสถียรภาพทางการเงิน โปร่งใสและใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น

7. นโยบายการเงิน
คณะกรรมการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.00–2.25 ด้วยมติเป็นเอกฉันท์ ภายใต้มุมมองต่อเศรษฐกิจ การจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อที่เป็นไปตามคาดการณ์ ทั้งนี้ คณะกรรมการเกือบทุกท่านสนับสนุนการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งในระยะอันใกล้ “fairly soon” หากข้อมูลรายงานภาวะตลาดการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อสอดคล้อง หรือดีกว่าคาดการณ์ (data dependent)

ทั้งนี้ “a few participants” กังวลต่อ timing ของการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ “a couple of participants” คาดว่า federal fund rate มีแนวโน้มเข้าใกล้ระดับ neutral ส่งผลให้การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป เป็นปัจจัยกดดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ

นอกจากนี้ คณะกรรมการเห็นพ้องว่าควรปรับเปลี่ยนข้อความใน FOMC statement ภายหลังการประชุม เพื่อมิให้สะท้อนถึง “predetermined course” ของการดำเนินนโยบาย โดยเฉพาะที่ระบุว่า “Committee's expectation for further graduate increases”

นอกจากนี้ “many participants” เห็นว่าเนื้อหาใน statement ในระยะต่อไป ควรให้ความสำคัญกับการประเมินข้อมูลทางเศรษฐกิจมากขึ้น รวมถึงภาพรวมทางเศรษฐกิจและนโยบายการเงิน เพื่อสะท้อนถึงความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบาย เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ณ เวลานั้นๆ อนึ่ง คณะกรรมการเห็นพ้องถึงแนวโน้มการปรับ IOER ในเชิง technical adjustment “fairly soon” หรืออาจก่อนการประชุมในเดือน ธ.ค.

Source: BOTss

เพิ่มเติม
- Fed points to December rate hike but is worried about tariffs and debt: https://www.cnbc.com/…/fed-points-to-december-rate-hike-but…

- อ่าน minute ของ FOMC https://www.federalreserve.gov/…/fi…/fomcminutes20181108.pdf

- บอนด์ยีลด์สหรัฐ 10 ปีร่วงต่ำกว่า 3% หลังปธ.เฟดชี้อัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้ระดับเป็นกลาง : https://www.ryt9.com/s/iq22/2922436

- ราคาทองฟิวเจอร์บวกวันที่ 2 นิวไฮ 1 สัปดาห์ ขานรับถ้อยแถลงประธานเฟด
https://www.ryt9.com/s/iq31/2922435

0 Share