ปัญหาปากท้องเป็นเรื่องใหญ่ของผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมเมืองหรือสังคมชนบท และเรามักได้ยินคนบ่นกันบ่อยๆว่า ต้นทุนในการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯสูงกว่าคนในจังหวัดอื่นๆ ล่าสุด ผลสำรวจของเว็บไซต์นัมเบโอ

ช่วยตอกย้ำว่า สิ่งที่บ่นๆกันเป็นเรื่องจริง มาดูกันว่าเพราะเหตุใดเมืองหลวงของประเทศไทย จึงถูกจัดให้เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงสุดเป็นอันดับ2ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นัมเบโอ เว็บไซต์ ฐานข้อมูลด้านค่าครองชีพที่ใหญ่ที่สุด ในโลก เผยแพร่ดัชนีค่าครองชีพทั่วโลก ปี 2562 โดยคำนวณจากค่าสินค้าอุปโภคบริโภค ค่าอาหารในร้านอาหาร ค่าเช่าที่พักอาศัย และกำลังซื้อของประชากรในเมือง พบว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคอาเซียน และเป็นอันดับ 216 ของโลก โดยดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 55.72 จุด

นัมเบโอ ระบุว่า ค่าครองชีพในกรุงเทพฯ ถูกกว่าในนครนิวยอร์กของสหรัฐ 44.28% ส่วนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรายบุคคล ไม่รวม ค่าเช่าบ้านอยู่ที่ราว 2.1 หมื่นบาท/เดือน ส่วนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของครอบครัวที่มี สมาชิก 4 คน ไม่รวมค่าเช่าบ้าน อยู่ที่ 7.59 หมื่นบาท/เดือน

สำหรับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ของคนกรุงเทพฯ ในปีนี้ คือค่าอาหาร ในร้านอาหาร ซึ่งเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 30.42 จุด จาก 27.99 จุด เมื่อปีที่ผ่านมา คิดเป็นราคาเฉลี่ยที่ 80 บาท/มื้อ และค่าเช่าที่พักอาศัย เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 26.35 จุด จาก 26.21 จุด โดยอพาร์ตเมนต์ 1 ห้องนอน ใจกลางเมือง มีค่าเช่าเฉลี่ยที่ 2.14 หมื่นบาท/เดือน ขณะที่ค่าสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 58.32 จุด จาก 62.40 จุด

นัมเบโอ ระบุด้วยว่า ค่าใช้จ่ายทั้ง สองส่วนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อ ของคนกรุงเทพฯ ลดลงมาอยู่ที่ 41.15 จุด จาก 44.94 จุด

นอกจากนี้ ภูเก็ต พัทยา และเชียงใหม่ ยังติดอยู่ในเมือง 10 อันดับแรกที่มี ค่าครองชีพแพงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน อยู่ที่ 48.85 จุด 45.30 จุด และ 43.42 จุด โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรายบุคคล ไม่รวม ค่าเช่าบ้านใน 3 เมืองดังกล่าวอยู่ที่ 1.8 หมื่นบาท/เดือน 1.7 หมื่นบาท/เดือน และ 1.6 หมื่นบาท/เดือน ตามลำดับ

หากเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียนแล้ว สิงคโปร์ ถือเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุด อยู่ที่ 69.79 จุด ตามด้วยกรุงเทพฯ 55.25 นครย่างกุ้งของเมียนมา 54.85 ซึ่งนัมเบโอ ระบุว่า ค่าครองชีพในนครย่างกุ้งต่ำกว่ากรุงเทพฯ เพียง 0.75% ขณะที่ภูเก็ต 48.84 อยู่ที่อันดับ 4 พัทยา 45.30 อันดับ 6 และเชียงใหม่ 43.42 อันดับ 8 ของภูมิภาค

ส่วนกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา 47.41 รัฐยะโฮร์ บารู ประเทศมาเลเซีย 43.95 ปีนัง ประเทศมาเลเซีย 42.88 และกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย 41.81

สำหรับเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุด ในโลกปีนี้คือ เมืองบาเซิล ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งดัชนีค่าครองชีพ อยู่ที่ 131.37 จุด โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ย รายบุคคลไม่รวมค่าเช่าที่พักอาศัย อยู่ที่ราว 4.94 หมื่นบาท/เดือน

รองลงมาคือ ซูริคประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 126.87 อันดับ 3 คือ โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดัชนีค่าครองชีพ อยู่ที่ 123.42 อันดับ 4 คือ เบิร์น ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 123.17 อันดับ 5 คือ เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 118.87 อันดับ 6 คือ ลูกาโน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดัชนี ค่าครองชีพอยู่ที่ 118.00 อันดับ 7 คือ เมืองสตาแวนเจอร์ ประเทศนอร์เวย์ ดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 103.89 อันดับ 8 คือเมืองเรกยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์ ดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 102.20 อันดับ 9 คือกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ดัชนีค่า ครองชีพอยู่ที่ 101.90 อันดับ 10 คือ มหานครนิวยอร์ก สหรัฐ ดัชนีค่าครองชีพ อยู่ที่ 100.00

ขณะที่เมืองที่มีค่าครองชีพแพง ที่สุดในเอเชียอันดับ1คือ กรุงโตเกียว เมืองหลวง ของญี่ปุ่น ซึ่งดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 88.45 จุด โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรายบุคคล ไม่รวมค่าเช่าที่พักอาศัย อยู่ที่ราว 3.5 หมื่นบาท/เดือน อันดับ2 คือกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 82.78 อันดับ 3 คือ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ดัชนีค่าครองชีพ อยู่ที่ 79.49 อันดับ 4 คือ กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอลดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่78.46 อันดับ 5 คือ ฮ่องกง ดัชนีค่าครองชีพ อยู่ที่ 78.14 อันดับ 6 คือ นครเยรูซาเล็ม ประเทศอิสราเอลดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่74.51 อันดับ7 เมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล ดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 73.82 อันดับ 8 เมืองรามัต แกน ประเทศอิสราเอล ดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 71.64 อันดับ 9 สิงคโปร์ ดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 69.79 และอันดับ 10 คือ นิโคเซีย ประเทศไซปรัส ดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 64.65

อย่างไรก็ตาม นัมเบโอ ระบุว่า ค่าครองชีพ ในภูมิภาคอาเซียนยังถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับหลายเมืองในยุโรป รวมถึงนครเจนีวา ของสวิตเซอร์แลนด์ เมืองบาเซิล ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสวิตเซอร์แลนด์

ผลสำรวจล่าสุดของนัมเบโอ ไม่ใช่เรื่องที่สร้างความประหลาดใจเท่าใดนัก ส่วนหนึ่ง น่าจะเป็นเพราะมีสัญญาณบ่งชี้มาระยะหนึ่ง แล้วว่า กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย เป็นเมืองหลวงที่มีค่าครองชีพแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมอร์เซอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการสำรวจค่าครองชีพ และที่อยู่อาศัยสำหรับคนที่ต้องการไปทำงานในประเทศต่างๆ ได้จัดอันดับค่าครองชีพ ประเทศต่างๆ ออกมาเป็นประจำทุกปี ระบุว่ากรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงที่อยู่ อันดับกลางๆในเรื่องค่าครองชีพ ไม่ได้แพงมาก และไม่ได้ถูกมากเท่าไหร่ ต่างจาก สิงคโปร์ ฮ่องกง โตเกียว นิวยอร์ก ลอนดอน หรือเซี่ยงไฮ้ ที่มีค่าครองชีพสูงกว่ามาก แต่รายงานของเมอร์เซอร์ก็บอกว่า ค่าครองชีพ ของกรุงเทพฯ ในระยะหลังๆสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง

Source: กรุงเทพธุรกิจ

0 Share