ตัวเลขมูลค่าบริษัทที่เปลี่ยนแปลงตามข้อมูลของ Yahoo Finance & Visualcapitalist.com ทำให้เห็นภาพของความตกต่ำของระบบค้าปลีกแบบเก่าชัดเจนมาก

มูลค่าบริษัทที่เปลี่ยนแปลงจากปี 2006 เทียบกับปี 2017 สะท้อนภาพผลประกอบการของค้าปลีกแต่ละแห่ง

ในอเมริกามีสถิติการซื้อสินค้าแบบอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปี 2018 มีการประเมินว่าการช็อปปิ้ง Online มีสัดส่วนประมาณ 10% ของค้าปลีกทั้งประเทศ 

Amazon ค้าปลีกออนไลน์กำลังค่อยๆกินรวบธุรกิจค้าปลีกแบบเก่าที่การซื้อสินค้าต้องเดินไปช็อปตามห้างต่างๆ 

แต่การซื้อแบบออนไลน์มีความสะดวกกว่าและราคาถูกกว่า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ผู้คนจำนวนมากเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อสินค้าสู่ระบบออนไลน์

มูลค่าบริษัท Amazon ในปี 2017 คือ $474.4 พันล้าน เติบโตจากปี 2006 เท่ากับ 2,780% 

Amazon ในวันที่ 19-09-2018 มีมูลค่าบริษัทรวม $939.59 พันล้าน เติบโตจากปี 2017 เกือบหนึ่งเท่าตัว

เจฟฟ์ เบโซส เคยเล่าให้ฟังว่าเขาเริ่มต้นธุรกิจ Amazon ในปี 1994 ตั้งแต่ในสมัยที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้ว่าอินเตอร์เน็ตคืออะไร แต่เขาเห็นตัวเลขการเติบโตของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปีละไม่ต่ำกว่า 20% ทำให้เขามั่นใจว่าธุรกิจค้าขายแบบออนไลน์ที่จะทำ ต้องมีอนาคตที่ดีแน่ๆ

Tripping Point ซึ่งเป็นจุดพลิกผันทำให้ธุรกิจออนไลน์มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เริ่มต้นในปี 2007 ซึ่งเป็นปีแรกที่โลกได้รู้จักสมาร์ตโฟน ทั้ง iOS และ Android ซึ่งถือกำเนิดในช่วงเวลาเดียวกัน

อินเตอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟนเริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายตั้งแต่ปี 2007 ทำให้การค้าออนไลน์ทุกรูปแบบมีโอกาสเพิ่มจำนวนมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว

แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นในอเมริกาและหลายๆประเทศในโลก จะเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่? ค้าปลีกไทยระบบเก่าอนาคตจะเป็นอย่างไร?

วันนี้ในประเทศไทย ห้างสรรพสินค้าหรือค้าปลีกรูปแบบเก่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นการแข่งขันกับระบบค้าปลีกแบบออนไลน์ ยังไม่เห็นผลกระทบที่ชัดเจน

แต่ผู้ค้าปลีกไทยทุกแห่งได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในอเมริกาและประเทศต่างๆแล้ว และหวั่นใจแน่ๆว่าจะต้องส่งผลกระทบครั้งใหญ่กับธุรกิจของตัวเองในประเทศไทย

ห้างสรรพสินค้าและเครือข่ายค้าปลีกไทยเกือบทุกแห่ง เริ่มมีการปรับตัวแล้ว แต่บางแห่งอาจยังปรับตัวไม่เร็วพอ

อเมซอน ไม่ได้ข้ามโลกเข้ามาบุกตลาดออนไลน์ในไทยด้วย 

ในปัจจุบันผู้ค้าออนไลน์หลักที่มีสินค้าหลากหลายและขายได้มากในประเทศไทย คือ Lazada, JD.co.th, Shopee 

ยักษ์ออนไลน์ทั้ง 3 แห่ง มีเบื้องหลังเป็นธุรกิจจากประเทศจีน

Lazada เป็นของอาลีบาบาเบอร์หนึ่งธุรกิจออนไลน์จีน

JD และ Shopee มีเทนเซ็นต์จากจีนอยู่เบื้องหลัง โดย JD เป็นพันธมิตรหลักกับกลุ่มเซ็นทรัลในประเทศไทย

อดีตที่ผ่านมา เราเคยเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในต่างประเทศหลายอย่าง ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยด้วย 

กระแสการเปลี่ยนแปลงของค้าปลีกทั่วโลก คงเกิดขึ้นในประเทศไทยด้วย ขึ้นอยู่กับว่ามันจะเร็วแค่ไหนเท่านั้น!!!


CR.ธุรกิจ4.0


.
https://www.statista.com/…/e-commerce-share-of-retail-sale…/


ติมตามข่าวสารรอบโลกได้ที่ คลิ๊ก
เข้ากลุ่มนักเทรดใน Facebook คลื๊ก นี้


 

0 Share