สงครามการค้าเห็นผล หุ้นโลกเสี่ยงยาว: เมื่อครั้งที่ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์เป็นตัวนำการดิ่งโดยปิดลบไปกว่า 800 จุด เมื่อวันที่ 10 ต.ค. จนสร้างความหวาดผวาให้ตลาดหุ้นทั่วโลกนั้น นักวิเคราะห์บางส่วนยังไม่เชื่อว่าจะเป็นจุดสิ้นสุดของภาวะตลาดกระทิงในสหรัฐที่วิ่งต่อเนื่องมายาวเกือบ 10 ปี แต่เป็นเพราะปัจจัยผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีที่ขึ้นไปสูงมากและเป็นเพียงการ ปรับฐานลงมาเท่านั้น
ทว่าผ่านมาเพียง 2 สัปดาห์ นักลงทุนก็ต้องเจอภาวะซ้ำรอยอีกครั้งเมื่อดาวโจนส์ปิดลบไป 608.0 จุด หรือ 2.41% เมื่อวันที่ 24 ต.ค. ตามมาด้วยเอสแอนด์พี 500 ปิดลบ 84.59 จุด หรือ 3.09% และแนสแด็ก คอมโพสิต ปิดลบ 329.1 จุด หรือ 4.43%
ที่สำคัญก็คือ การลงต่อเนื่องครั้งนี้กำลังทำให้สิ่งที่ ดาวโจนส์และ เอสแอนด์พี 500 บวกมาตลอดทั้งปี 2018 "หายวับไปกับตา" ซึ่งเฉพาะในเดือน ต.ค.นี้เพียงเดือนเดียว (ถึงวันที่ 24 ต.ค.) ดาวโจนส์ร่วงไปแล้ว 7.1% เอสแอนด์พี 500 รวม 8.9% และ แนสแด็ก 11.7% โดยรายหลังนี้ หากนับจากราคาปิดตลาดที่ทุบสถิติ ครั้งล่าสุดคือเมื่อวันที่ 29 ส.ค. จะเท่ากับว่าลบไปทั้งสิ้น 12.4%
ปัจจัยลบครั้งล่าสุดนี้ไม่ได้มาจากเรื่องดอกเบี้ยบอนด์ยีลด์เหมือนครั้งที่แล้ว แต่เป็นสิ่งที่น่ากังวลไม่แพ้กัน เพราะผลกระทบจาก "สงคราม การค้า" เริ่มปรากฏให้เห็นอย่างเป็น รูปธรรมในช่วงไตรมาส 4 อย่างที่เคย คาดการณ์กันเอาไว้แล้ว
หลายบริษัทเริ่มออกมาทยอยส่งสัญญาณข่าวร้ายของผลประกอบการไตรมาส 4 กันในสัปดาห์นี้ เพราะ
ปัญหาการขึ้นภาษีเหล็กและอะลูมิเนียม ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่า ไปจนถึงผลพวงอื่นๆ ของสงครามการค้า กำลังกดดันให้ต้นทุนการผลิตพุ่งสูงขึ้น เช่น บริษัท 3M ที่คาดการณ์ว่าต้นทุน ปีนี้จะแพงขึ้นประมาณ 20 ล้านดอลลาร์ (ราว 657 ล้านบาท) และ 100 ล้านดอลลาร์ (ราว 3,289 ล้านบาท) ในปีหน้า ทำให้บริษัทต้องปรับลดคาดการณ์รายได้ปี 2018 ลง จนฉุดให้ราคาหุ้นปิดตลาดดิ่งลง 4.4% เมื่อวันที่ 23 ต.ค.
ส่วนบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักร รายใหญ่ แคทเทอร์พิลลาร์ คาดการณ์ว่า ภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น 100-200 ล้านดอลลาร์ (ราว 3,290-6,580 ล้านบาท) ทำให้บริษัทต้องคงคาดการณ์รายได้ปี 2018 เท่าเดิม จากเดิมที่ขึ้นคาดการณ์มาก่อน 2 ไตรมาสติดต่อกัน ทำให้หุ้นปิดลบไปถึง 7.6% ส่วนฮาร์เลย์ เดวิดสัน ปิดลบไป 2.2% เพราะยอดขายในไตรมาส 3 ปีนี้ที่น้อยลงจากปีก่อน และล่าสุดเมื่อวานนี้คือ 2 บริษัทผู้ผลิตชิป เทกซัส อินสตรูเมนต์ส และเอสทีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกมาเตือน ผลประกอบการปีนี้เช่นกัน
สถานการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับ ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกรายงานประเมินสภาพเศรษฐกิจรายไตรมาส หรือเบจบุ๊ก ล่าสุดที่ระบุว่า การขึ้นภาษีการค้าต่างๆ กำลังทำให้ต้นทุนโรงงานผลิตต่างๆ ในสหรัฐพุ่งสูงขึ้น
นอกจากสงครามการค้าที่จะเริ่มหันมาส่งผลกระทบต่อบริษัทผู้ผลิตอเมริกันแล้ว นักลงทุนก็ยังให้น้ำหนักกับปัจจัยเสี่ยงอีกหลายด้านที่รายล้อม อาทิ เศรษฐกิจจีน ซาอุดิอาระเบีย น้ำมันโลกกับการคว่ำบาตรอิหร่าน ตลาดการเงินโลกที่ตึงตัว ไม่เว้นแม้แต่ยอดขายบ้านใหม่ในสหรัฐเดือน ก.ย. ที่ลดลงต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี ซึ่งยิ่งดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางขาขึ้น ก็อาจยิ่ง กดดันตลาดอสังหาฯ ในสหรัฐ หลังจากนี้อีก
จึงไม่น่าแปลกใจที่ดัชนีชี้วัดความเสี่ยง VIX จะขยับขึ้นถึง 4.52 จุด ไปอยู่ที่ 25.23 จุด หรือสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.ปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดสหรัฐเคยดิ่งลงครั้งใหญ่ช่วงสั้นๆ มาแล้ว
อย่างไรก็ตาม โจอาคิม เฟลส์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจโลกของบริษัทจัดการการลงทุนพิมโก ให้ความเห็นกับบลูมเบิร์กว่า ภาวะตลาดหุ้นที่กำลังผันผวนหนักเช่นนี้ยังไม่ใช่จุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ภาวะตลาดหมี แต่เป็นการปรับฐาน (ที่ดี) ในวัฏจักรปกติเท่านั้น ซึ่งพื้นฐานสหรัฐยังแข็งแกร่ง
ทว่าสหรัฐเองก็ยังมีอีกความเสี่ยงหนึ่งที่รออยู่และยังคาดการณ์ไม่ได้เช่นกัน กับการเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐ ในวันที่ 6 พ.ย. ว่าทรัมป์และรัฐบาลพรรครีพับลิกันจะยังครองเสียงส่วนใหญ่ได้มากน้อยเพียงไหน และการพบกันระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ซึ่งจะเป็นการเจรจานอกรอบระหว่างการประชุมสุดยอด จี20 ในปลายเดือนหน้า จะช่วยบรรเทาศึกพิพาทการค้าได้ เพียงใด ซึ่งหากยังไม่มีความคืบหน้า ผลกระทบจากสงครามการค้าที่เริ่มเกิดขึ้นในไตรมาส 4 ปีนี้ ก็จะยิ่งเลวร้ายและขยายวงกว้างไปอีกในปีหน้า
แม้แต่ ลอเร็ตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์ ยังให้ความเห็นว่าแม้เศรษฐกิจสหรัฐจะแข็งแกร่ง แต่หากต้องเผชิญกับภาวะปั่นป่วนในตลาดหุ้นที่ลงแบบนี้ต่อเนื่องไปอีกระยะ ก็อาจจะย้อนกลับมากระทบเศรษฐกิจพื้นฐานของอเมริกาเองได้เช่นกัน
แต่ฝ่ายที่เจ็บหนักกว่าอาจเป็นฝั่ง "เอเชีย" ที่เจอหลายเด้งมากกว่าสหรัฐ ทั้งในแง่สงครามการค้าในฐานะซัพพลายเชน ในแง่ที่เศรษฐกิจพื้นฐานอาจไม่ได้แกร่งเท่า และในแง่ของทุนไหลออกที่กำลังกดดันทั้งในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้
บลูมเบิร์ก ระบุว่า ภาวะตลาดหุ้นที่ผันผวนส่งผลให้มูลค่าของตลาดหุ้นในเอเชียหายไปแล้วมากกว่า 4.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2018 นี้ นำโดยเอ็มเอสซีไอเอเชีย-แปซิฟิก ที่ลงไปแล้ว 22 จุด นับตั้งแต่ระดับพีกในเดือน ม.ค. ส่วนนิกเกอิ 225 ลงไปราว 3.5% และดัชนีโทปิกซ์ ลงไป 2.9% นับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2017 ด้านตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ดัชนีคอมโพสิต 100 ก็ลงไป 2.6% เข้าสู่ดินแดนตลาดหมีแล้ว รับกับจีดีพีเกาหลีไตรมาส 3 ที่แย่กว่าคาด
ส่วนตลาดหุ้นจีนนั้นหนักที่สุดกว่าทุกราย จนมีรายงานว่ารัฐบาลต้องตั้งเรียกทีมฉุกเฉินที่เคยรับมือกับวิกฤตตลาดหุ้นจีนมาก่อน มารับมืออีกครั้ง และมีการออกมาตรการกระตุ้นแบบทุกทิศทางทั้งการเงิน การคลัง และมาตรการพยุงตลาดหุ้น ในขณะที่ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดฮ่องกง ลงไปถึง 10% แล้วเฉพาะในเดือน ต.ค.นี้ และน่าจะเปิดการปิดลบเดือนที่ 6 ติดต่อกัน หรือแย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1982 เป็นต้นมา
แม้หลายฝ่ายจะเห็นตรงกันว่าตลาดหุ้นยังไม่น่าจะเกิดวิกฤตขึ้นในเร็วๆ นี้ และยังมีจังหวะให้ขึ้นหรือทำกำไรไปได้อีกพักใหญ่ ซึ่งผลประกอบการหลายบริษัทก็ออกมาดีเกินคาด แต่ระดับความเสี่ยงที่ก่อตัวเพิ่มขึ้นและชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจทำให้หุ้นโลกที่ดีมาต่อเนื่องถึงไตรมาส 3 ต้องมาถึงบททดสอบสุดผันผวน ที่อาจปั่นป่วนยิ่งขึ้นอีกหลังจากนี้ไป
โดย นันทิยา วรเพชรายุทธ
Source: Posttoday
ทว่าผ่านมาเพียง 2 สัปดาห์ นักลงทุนก็ต้องเจอภาวะซ้ำรอ
ที่สำคัญก็คือ การลงต่อเนื่องครั้งนี้กำลั
ปัจจัยลบครั้งล่าสุดนี้ไม่ไ
หลายบริษัทเริ่มออกมาทยอยส่
ปัญหาการขึ้นภาษีเหล็กและอะ
ส่วนบริษัทผู้ผลิตเครื่องจั
สถานการณ์ดังกล่าวสอดคล้องก
นอกจากสงครามการค้าที่จะเริ
จึงไม่น่าแปลกใจที่ดัชนีชี้
อย่างไรก็ตาม โจอาคิม เฟลส์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจโลกขอ
ทว่าสหรัฐเองก็ยังมีอีกความ
แม้แต่ ลอเร็ตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์ ยังให้ความเห็นว่าแม้เศรษฐก
แต่ฝ่ายที่เจ็บหนักกว่าอาจเ
บลูมเบิร์ก ระบุว่า ภาวะตลาดหุ้นที่ผันผวนส่งผล
ส่วนตลาดหุ้นจีนนั้นหนักที่
แม้หลายฝ่ายจะเห็นตรงกันว่า
โดย นันทิยา วรเพชรายุทธ
Source: Posttoday
—————————————— ———————————————
ติมตามข่าวสารการเงิน เศรษฐกิจรอบโลกได้ที่ คลิ๊ก
เข้ากลุ่มนักเทรดใน Facebook คลื๊ก นี้