ไอซีโอ...พลิกโฉม เศรษฐกิจไทย : หากเป็นไปตามที่ รพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลั กทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หน่วยงานที่กำกับดูแลสินทรั พย์ดิจิทัลตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิ จิทัล พ.ศ. 2561
คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะสามา รถเปิดให้มีการระดมทุนเป็นส ินทรัพย์ดิจิทัลได้
กรณีนี้จะเป็นการเปิดทางให้ เอกชนเข้ามาระดมทุนผ่านการอ อกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลด้วยกระบวนการเสนอขายเหรียญ ดิจิทัล (ไอซีโอ) ได้อย่างเป็นทางการ มีกฎหมายรองรับชัดเจนซึ่งไท ยถือว่ามีพัฒนาการที่เร็วมา กประเทศแรกๆ ในโลก ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ขอรอดูความชัดเจนถึงทิศทางก ารระดมทุนผ่านไอซีโอ
สำหรับ กระบวนการไอซีโอ ตาม พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) สินทรัพย์ดิจิทัล จะครอบคลุม คริปโทเคอเรนซี ซึ่งเป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กท รอนิกส์ที่สร้างขึ้นมาบนระบ บอิเล็กทรอนิกส์ ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าบริการ สิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทร ัพย์ดิจิทัล รวมถึงหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอ นิกส์ที่ ก.ล.ต.กำหนด และ โทเคนดิจิทัล หมายถึง หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่สร้างขึ้นบนระบบหรือเครื อข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกำหนดสิทธิของคนในการเ ข้าร่วมลงทุน สิทธิการได้มาซึ่งสินค้าหรื อบริการหรือสิทธิอื่นที่ระบ ุไว้ในสัญญา
สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ จะมีเพียง 2 กลุ่มเท่านั้นที่สามารถเข้า มาทำไอซีโอ ด้วยการออกคริปโทเคอเรนซี หรือ โทเคน
กลุ่มแรก คือ บริษัทเอกชน และสถาบันการเงิน เช่น กลุ่มสตาร์ทอัพ ทั้งที่เป็นเทกสตาร์ทอัพ ที่ระดมทุนเพื่อนำเงินไปพัฒ นาโครงการในฝันด้านเทคโนโลย ี ไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง และธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล ็ก (เอสเอ็มอี) ที่ระดมทุนเพื่อนำไปพัฒนา
สินค้าและบริการต่างๆ ที่มีอยู่แล้วเพื่อขยายตลาด ซึ่ง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไท ย (ตลท.) มีการลงทุนจัดตั้ง บริษัท ไลฟ์ฟินคอร์ป (LiVE) เพื่อส่งเสริมให้เข้าถึงแหล ่งเงินทุนตรงจากนักลงทุน
ผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ออกเพื่อนำมาใช้หมุนเวีย นภายในกลุ่มโดยมีสินทรัพย์ห นุนหลัง ทั้งบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่ง ตลท.มีแนวคิดที่จะพัฒนาแพลต ฟอร์มตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อรองรับการเติบโตในอนาค ต และบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลั กทรัพย์
สถาบันการเงิน ออกเพื่อนำมา รองรับการโอนเงินระหว่างธนา คารที่มีมูลค่าสูงให้เกิดคว ามรวดเร็ว และการชำระเงินรายย่อย เพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยมีเงินสกุลที่เป็นที่ยอม รับในระดับสากลหนุนหลัง แต่จะมีระดับของการให้เข้าถ ึงข้อมูลธุรกรรมจำกัด เพื่อรักษาความความสามารถด้ านการแข่งขัน
กลุ่มสอง คือ ธนาคารกลาง ซึ่งก็คือธนาคารแห่งประเทศไ ทย ที่อยู่ระหว่างพัฒนาโครงการ อินทนนท์ ระยะแรก ให้มีการทดสอบโอนเงินระหว่า งสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโ ครงการโดยใช้สกุลเงินดิจิทั ลจำลองที่ ธปท.เป็นผู้ออก (Wholesale Central Bank Digital Currency : Wholesale CBDC)
ส่วนกลุ่มบุคคลนิรนาม ถ้าออกถือว่าผิด พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ที่ระบุให้ผู้ออกต้องแสดงตั วตน หากจะทำต้องไปออกและขายในต่ างประเทศ เช่น คริปโทเคอเรนซีกลุ่มบิตคอยน ์ (Bitcoin) ถึงวันนี้ก็ไม่รู้จักตัวตนท ี่แท้จริงว่า ใครคือผู้ออก เพียงระบุว่าพัฒนาและออกโดย คนหรือกลุ่มคนภายใต้นามแฝง "ซาโตชิ นากาโมโตะ"
ทั้งนี้ กลุ่มหัวก้าวหน้า เชื่อว่า คริปโทเคอเรนซีหรือโทเคน จะเข้ามาเปลี่ยนโฉมตลาดทุนไ ทยและช่วยพัฒนาเศรษฐกิจไทยใ ห้เติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะเทคโนโลยีบล็อกเชนจะทำ ให้สามารถนำทรัพย์สินที่จับ ต้องได้ ขนาดใหญ่ มูลค่าสูง ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก ที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้า ถึงการลงทุน มาแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล แล้วนำไปแบ่งย่อยขายให้กับน ักลงทุนทุกกลุ่มได้ จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มใ ห้กับทรัพย์สินได้หลายเท่าต ัว และทำให้มีเงินทุนนำไปพัฒนา ระบบเศรษฐกิจไทย
ยกตัวอย่าง ห้องพักอาศัยในคอนโดมิเนียม หรู ราคา 20 ล้านบาท ซึ่งมีแต่คนรวยเท่านั้นที่ล งทุนได้ หากนำมาแปลงเป็นสินทรัพย์ดิ จิทัลผ่านกระบวนการไอซีโอ ออกเป็น โทเคนที่กำหนดสิทธิความเป็น เจ้าของ หน่วยละ 1,000 บาท จะทำให้คนทั่วไปสามารถลงทุน ในห้องพักคอนโดหรูได้ หากมองว่าห้องพักจะมีราคาสู งขึ้น ความต้องการซื้อโทเคนในตลาด ก็จะสูงขึ้น และดันให้ราคาโทเคนสูงขึ้น
หรือ สินทรัพย์ที่เป็นทองคำ เพชร รวมถึงสินทรัพย์อื่นๆ ซึ่งถูกเก็บไว้เฉยๆ สามารถนำมาแปลงเป็นสินทรัพย ์ดิจิทัล และนำออกขายผ่านกระบวนการไอ ซีโอ จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มใ นโลกดิจิทัลให้กับทรัพย์สิน เหล่านั้นได้หลายเท่าตัว
ภาพของ คริปโทเคอเรนซี หรือ โทเคน ในไทย จะออกมาเป็น 2 แบบ คือแบบที่ ออกมาเพื่อใช้กันภายในกลุ่ม ธุรกิจ จะไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะการใช้ประโยชน์จากคริป โทเคอเรนซี หรือโทเคน อยู่ในวงแคบ ไม่สามารถใช้เป็นเงินสดเพื่ อนำไปซื้อสินค้า หรือ ชำระค่าสินค้าและบริการ รวมถึงสิทธิอื่นๆ นอกกลุ่มที่ออกสินค้าได้ จะแลกเป็นเงินสดได้ ต้องนำโทเคนไปเทรดในศูนย์ซื ้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ในขณะที่ต่างประเทศ หลายธุรกิจยอมรับสกุลเงินบิ ตคอยน์
แบบที่ มีการซื้อขายเพื่อลงทุนในวง กว้าง ที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง หรือมีสินค้าและบริการอยู่แ ล้ว แต่ต้องการระดมเงินเพื่อไปข ยายขนาดของธุรกิจ เพราะผู้ออกจะมั่นใจว่าสามา รถดึงดูดความสนใจจากนักลงทุ นทั่วไปได้มากกว่า สามารถระดมเงินทุนได้มากกว่ า และจะเป็นแบบที่นักลงทุนไทย ส่วนใหญ่ยอมรับ
ขณะที่การระดมทุนที่มีเพียง โครงการที่จะทำในอนาคตมาโชว ์ จะเป็นส่วนน้อย เพราะสิทธิประโยชน์อยู่ในวง จำกัดเช่นกัน เพราะความเสี่ยงที่โครงการจ ะไม่เป็นไปตามแผนเป็นไปได้ส ูง คือ ล้มเหลวสูง ซึ่งกลุ่มนี้จะมีนักลงทุนสถ าบันเข้ามาลงทุนเป็นส่วนใหญ ่ เพราะมีเงินทุนหนาสามารถยอม รับเงินลงทุนเป็นศูนย์ได้
เชื่อว่า ในช่วงแรกนี้ การระดมทุนผ่านกระบวนการไอซ ีโอ จะได้รับความนิยม แต่ไม่ถึงขั้นสามารถเปลี่ยน โฉมหน้าการระดมทุน หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ เศรษฐกิจไทยได้มากนัก เพราะคนที่เข้าใจการลงทุนจำ กัดอยู่ในวงแคบ
แม้กฎหมายไทยจะยอมเปิดให้ระ ดมทุนได้ แต่ระบบเศรษฐกิจไทยยังไม่ยอ มรับคริปโทเคอเรนซี หรือโทเคน เป็นตัวกลางในการชำระค่าสิน ค้า หรือชำระค่าบริการได้ตามกฎห มาย และยังไม่เปิดรับแลกคริปโทเ คอเรนซีหรือโทเคนเป็นเงินสด ร้านค้าต่างๆ ในไทย ยังนิยมถือเงินสด แทนการถือคริปโทเคอเรนซี ซึ่งมีความเสี่ยงสูง
ทั้งนี้ คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ซึ่งยังไม่มีใครสามารถบอกได ้ว่ากี่ปี แม้เทคโนโลยีจะก้าวล้ำทุกวั น เพื่อให้สังคมไทยได้เรียนรู ้ไปพร้อมกัน ทั้งฝ่ายกำกับดูแล ผู้ที่มองว่า คริปโทเคอเรนซีหรือโทเคน จะมีศักยภาพในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจไปอย่างรวดเร็ว และเรียนรู้ประสบการณ์จากปร ะเทศอื่นๆ เพื่อปรับโครงสร้างพื้นฐานข องการระดมทุนแนวใหม่ให้เข็ง แกร่งและเติบโตอย่างยั่งยืน
โดย วารุณี อินวันนา
Source: Posttoday
ติดตามข่าวสารการเงิน เศรษฐกิจรอบโลกได้ที่ คลิ๊ก
เข้ากลุ่มนักเทรดใน Facebook คลื๊ก นี้
สนใจเรียนรู้การเป็นTrader กับกูรู คลิ๊ก