ยังไม่ทันจะผ่านพ้นเดือนแรก ของ ปี 2562 ภาพรวมเศรษฐกิจไทยก็ดูท่าจะ ไม่รุ่งพุ่งแรงเหมือนปีที่ผ ่านมา และไม่เป็นไปตามที่ใครหลายค นอยากให้เป็น เห็นได้จากตัวเลขประมาณการเ ศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ที่หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐแ ละเอกชน ให้ไว้ไม่ได้โตเหมือนปี 2561 ที่มากกว่า 4%
หลายหน่วยงานได้ออกมา คาดการณ์ตัวเลขจีดีพีปีนี้ใ หม่ เริ่มต้น ที่ เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทย ธนาคารโลก ที่คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว ลดลงมาอยู่ที่ 3.8% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 3.9% ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลก และการเติบโตต้องพึ่งพาการบ ริโภคจากภายในประเทศเป็นหลั ก เพราะการส่งออกได้รับผลกระท บจากอุปสงค์ของตลาดโลกที่ลด ลง
"ธนาคารโลกได้ประเมินภาวะเศ รษฐกิจไทยในปีนี้ไว้ที่ 3.8% ภายใต้สมมติฐานไม่มีเหตุควา มวุ่นวายทางการเมืองเกิดขึ้ นจากการเลือกตั้ง แต่หากมีความวุ่นวายเกิดขึ้ นจริง ก็ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงทา งเศรษฐกิจ เพราะจะ ส่งผลให้การลงทุนภาครัฐชะลอ ตัว การเบิกจ่ายภาครัฐอาจจะลดต่ ำลงได้อีกจากที่ต่ำกว่าเป้า หมายเป็นปกติ อยู่แล้ว" เกียรติพงศ์ กล่าว
ขณะที่ กระทรวงการคลัง อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ผู้ดูแลภาพรวมเศรษฐกิจของปร ะเทศ ก็ออกมาบอกว่า คลังประมาณการเศรษฐกิจปี 2562 จะขยายตัวได้ 4% ซึ่งจะขยายตัวได้น้อยกว่าปี ก่อนหน้า เพราะมีปัจจัยลบทางเศรษฐกิจ มากขึ้น ทั้งสงครามการค้า จะกระทบกับการส่งออกของประเ ทศรุนแรงมากขึ้น รวมถึงการเลือกตั้งที่จะเกิ ดขึ้นในปีนี้ทำให้นักลงทุนไ ม่เชื่อมั่นชะลอการลงทุน กระทบกับการขยายตัวทางเศรษฐ กิจไม่น้อย
ด้าน คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มองจีดีพีปีนี้ จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 4% หรือในกรอบ 4-4.3% จากการใช้จ่ายและการลงทุนใน ประเทศ ทั้งการลงทุนภาครัฐและภาคเอ กชน โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐ านภาครัฐ เพราะหากรัฐลงทุนแล้ว ภาคเอกชนก็จะลงทุนตามมา
ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ได้มีการปรับประมาณการจีดีพ ีลดลงเหลือ 3.8% จากเดิม 4.2% ผลมาจากความผันผวนของเศรษฐก ิจ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐแล ะจีน แต่ไทยยังมีแรงหนุน จากการใช้จ่ายภายในประเทศ อย่างการลงทุนของภาครัฐ ที่ขยายตัวและ มีความชัดเจนมากขึ้น
กอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจแ ละตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย ก็มองว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้เต ิบโตชะลอลงเหลือ 4% โดยมีปัจจัยเสี่ยงต้องติดตา มคือ เรื่องสงคราม การค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที ่นักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจส หรัฐกับจีนชะลอ ตัวลง และมีผลกดดันส่งออกไทยให้ขย ายตัวได้เพียง 4.5%
ด้าน ธนาคารกรุงไทย รุ่ง มัลลิกะมาส รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ก็ประมาณการอัตราการขยายตัว เศรษฐกิจเติบโต 4.1% ชะลอลงจาก 4.3% ปี 2561 ซึ่งประมาณการดังกล่าวคำนึง ถึงผลกระทบจากสงครามการค้าไ ปแล้ว เพราะไทยอยู่ในห่วงโซ่การผล ิตจีน แต่ไม่ใช่จะกระทบทั้งหมด
การเติบโตของเศรษฐกิจไทย จะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยในประเท ศ หรือไส้ในของเศรษฐกิจที่ยัง มีความแข็งและทำให้ประเทศเต ิบโตได้อย่างมีศักยภาพ จากการบริโภค การลงทุนที่เกิดขึ้นและคาดว ่าจะเกิดขึ้นทั้งของภาครัฐแ ละภาคเอกชน เป็นหลัก
และหากมีการเลือกตั้งแน่นอน จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ นักลงทุน เข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นได้อีก ทาง แต่การเลือกตั้งจะต้องไม่ล้ ม หรือถูกยกเลิก การเบิกจ่ายงบประมาณ การจัดซื้อ จัดจ้างของโครงการขนาดใหญ่ไ ด้เริ่มลงมือทำ เห็นอย่างเป็นรูปธรรม
ตัวเลขจีดีพีที่ออกมา แม้จะบ่งชี้ทิศทางของเศรษฐก ิจไทยว่าจะเติบโต ได้มากน้อยแค่ไหน แต่กลับกัน หากปัจจัยลบต่างประเทศ ยังไม่มีแนวโน้ม ดีขึ้น เศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร.. .
ทั้งนี้ การปรับลดประมาณการ จีดีพีของทุกสำนัก ส่วนใหญ่มาจากความวิตกกังวล ในเรื่องของสงครามการค้าระห ว่างสหรัฐและจีน และเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออก ฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อ นเศรษฐกิจไทยให้เติบโต ปัญหาความไม่สงบในยูโรโซนที ่ คอยฉุดกระชากการเติบโตของเศ รษฐกิจโลกได้ทุกเมื่อ
ความไม่แน่นอนและความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดขึ้น แม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังยอมรับว่าเป็นปัจจัย ที่อยู่นอกเหนือการควบคุม และควบคุมได้ยากมาก แม้เสถียรภาพทางการเงินจะยั งคงอยู่ในระดับที่ดีก็ตาม
เศรษฐกิจที่ยังไม่มีความชัด เจนเช่นนี้ โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลก อาจจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่ อนไหวของราคาสินทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นราคาหุ้นและค่า เงิน เงินทุนไหลเข้าไหลออก จึงถือเป็นเรื่องยากสำหรับก ารดำเนินธุรกิจ
แต่หากมองให้ลึก แม้อาจจะมีความเสี่ยงจากวิก ฤตที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ผู้ประกอบการก็ยังมีโอกา สให้รอด เพียงแค่ปรับตัวและเตรียมพร ้อมรับมือเหตุการณ์ต่างๆ ล่วงหน้า
ผู้ประกอบการไทยต้องเพิ่มคว ามระมัดระวังในการลงทุน ติดตามภาวะตลาดโลก และตลาดในประเทศอย่างใกล้ชิ ด ให้น้ำหนักกับภาพรวมเศรษฐกิ จที่เกิดขึ้น จนอาจถึงขั้นวางแผนทิศทางกา รทำธุรกิจใหม่ เพราะไม่ว่าจะผู้ประกอบการข นาดใหญ่ ขนาดเล็ก ระดับไหนก็ล้วนแล้วแต่ได้รั บผลกระทบทั้งนั้น หากเศรษฐกิจแย่
ดังนั้น เพื่อป้องกันตัวเองให้ บาดเจ็บน้อยที่สุด ผู้ประกอบการ อาจจะยอมปิดความเสี่ยงจากอั ตรา แลกเปลี่ยนในการทำธุรกิจต่า งประเทศจากการทำประกันความเ สี่ยง การจองสัญญาซื้อหรือขายเงิน ตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contract) หรือการตกลงซื้อสิทธิที่จะซ ื้อหรือขายเงินตราต่างประเท ศในอนาคต (Option Contract) ป้องกันการขาดทุนจาก ค่าเงินที่ผันผวน และแข็งค่าขึ้น
อีกทั้ง ก่อนตัดสินใจลงทุนจะต้องดูท ิศทางลมให้ดี ดูแลกระแสเงินสดให้เพียงพอเ พื่อไม่ให้กระทบต่อธุรกิจได ้ หากอะไรๆ ไม่เป็นอย่างคาดหวัง เพราะหากหวังพึ่งพาคนอื่น เวลาเข้าตาจน ตัวเองอาจจะไม่ใช่ผู้โชคดี ที่รอดพ้นจากสถานการณ์นั้นไ ด้ ...อย่างไรเสีย กันไว้ดีกว่าแก้ก็ดีกว่า แย่แล้วหมดตัว...
โดย กัลย์ทิชา นับทอง
Source: Posttoday