ช่วงนี้ “ลุงสีจิ้นผิง” ของ “จีน” กำลังเดินทางเยี่ยมเยือนมิตรสหายชาวยุโรป เพิ่งออกจาก “อิตาลี” มาที่ “โมนาโก” และต่อที่ “ฝรั่งเศส” เลย เมื่อ 24 มีนาคม 2019 ที่ผ่านมา
ที่ฮือฮาก็คือในการเดินทางครั้งนี้ “จีน” ตกลงซื้อเครื่องบินแอร์บัสของ “ฝรั่งเศส” แล้วทันที 300 ลำ เป็นรุ่น A320 จำนวน 290 ลำ และ Airbus A350 อีก 10 ลำ ที่มูลค่าประมาณ 34,000 ล้านดอลล่าร์ ท่ามกลางกระแสที่ทั่วโลกสงสัยในความปลอดภัยของโบอิ้ง 737 แม๊กซ์ 8 ที่เพิ่งเครื่องตกที่เอธิโอเปียเมื่อ 10 มีนาคม 2019 ที่ผ่านมา
นาย Emmanuel Macron ประธานาธิบดี “ฝรั่งเศส” ( ที่บนท้องถนนกำลังมีประท้วงมากมาย ที่พยายามเตะตัดขาแก ) บอกว่าการลงนามของ “จีน” ในกรุงปารีสเพื่อซื้อเครื่องบินแอร์บัส 300 ลำนั้นเป็น “ สัญญาณที่ดีเยี่ยม” ซึ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งและความน่าเชื่อถือของความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ
โดยน้ามาครง บอกว่า การหารือครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ “แสวงหาความเป็นหุ้นส่วนระหว่าง ยุโรป – จีนที่แข็งแกร่ง” โดยยึดตามกฎระเบียบที่ชัดเจนเข้มงวดและมีความทะเยอทะยาน”
โดยมีการลงนามระหว่างทั้งสองชาติที่มีขนาดเศรษฐกิจอันดับ 2 และ 5 ของโลก ในข้อตกลงทั้งหมด 15 รายการ ทั้งเรื่องพลังงาน อาหาร การขนส่ง และอื่นๆ เมื่อวันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2019 ที่ผ่านมา
ก่อนหน้านั้น ลุงสีจิ้นผิง ก็ได้แวะ “อิตาลี” ประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของยุโรป ที่ก็ได้ตกลงร่วมมือกันในโครงการ “ทางสายไหมใหม่” Belt and Road Initiative (BRI) ของ “จีน” ที่เป็นโครงการยักษ์เชื่อมประเทศในเอเชีย อาฟริกา ยุโรป ทั้ง 120 เข้าด้วยกันด้
นอกจาก อิตาลี โมนาโก ฝรั่งเศสแล้ว ในวันอังคารที่ 26 มีนาคม 2019 นี้ ที่ปารีสบ้านน้ามาครง แม้ลุงสีจิ้นผิง จะไม่ได้แวะไป “เยอรมัน” แต่ “ป้าแองเจลล่า แมร์เคิล” ( ผู้นำเยอรมันที่กำลังท้าทายอำนาจอเมริกา โดยการจะใช้บริการระบบส่งสัญญาน “5G ของหัวเหว่ย” ไม่สนใจการบีบคั้นกดดันจากอเมริกา ) และนาย Jean-Claude Juncker ประธานาธิบดีของอียู จะเดินทางมาพบปะพูดคุยกับลุงสีด้วยเช่นกัน
ซึ่งการเดินทางมากระชับมิตรกับยุโรปในครั้งนี้ ก็ถูกจับตาจากมหาอำนาจ “อเมริกา” ที่พวกเขามองว่า ยุโรปนั้นเป็นทาสในเรือนเบี้ยสมัยใหม่ในอุ้งมือ และมองว่า “จีน” กำลังเล่นเกมดึงยุโรปออกจากอ้อมกอดไปเป็นพวกอยู่ แต่ความแตกต่างคือ “จีน” ไม่ได้กดดัน บีบบังคับให้ประเทศทั้งสามในยุโรป มาทำสัญญาตกลงการค้าใดๆกับจีน ไม่ได้ต้องการครอบครอง เพิ่มประเทศอื่นๆเข้าในบัญชีของประเทศคู่สงครามการค้า หรือทำให้ยุโรปอ่อนแอลง แต่เป็นการตกลงที่เสมอภาคแบบเพื่อนมิตร แบบได้ประโยชน์ทั้งสองฝั่ง ขณะที่อเมริกากลับพยายามสร้างสงครามภาษีกับทั้งยุโรปและจีน สร้างศัตรูไปทั่วแต่ต้องการเป็นใหญ่เหนือพวกเขา ที่ยิ่งเป็นการบีบให้ทั้ง “ยุโรปและจีน” ร่วมมือและสานสัมพันธ์แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
Cr.Jeerachart Jongsomchai