เรื่องราวที่ฟิลิปปินส์บังคับให้แคนาดาขนเอาขยะกลับไปทิ้งที่บ้านตัวเองเป็นหนึ่งในกรณีที่บอกให้รู้ว่า "ปัญหาขยะล้นโลก" กำลังเป็นอีกปัญหาที่เจอทางตัน
หลายสิบปีก่อนโลกกำลังเร่งตัวเองสู่การบริโภคนิยม มีการแข่งขันกันออกแบบส่งเสริมการขายสวยงามทำให้เกิดขยะมากมายรวมทั้งขยะพลาสติกรวมทั้งขยะที่เป็นพิษ ตอนนั้นประเทศเล็กๆในเอเชียต้องยอมรับมาเป็น "บ่อขยะของโลก" แลกเศษเงินแต่เมื่อนานไปประเทศตัวเองก็สร้างขยะเองมากขึ้น เตาเผาไม่พอ, ฝังกลบไม่ทันไม่มีพื้นกลบฝัง, ระบบรีไซเคิลก็ไม่เพียงพอ จึงเริ่มมีการออกกฏหมายห้ามรับขยะจากประเทศรวยๆอีกต่อไป
ในปี 2016 ชุมชนเมืองทั่วโลกผลิตขยะแข็งออกมา 2 พันล้านตันหรือเฉลี่ยมีการสร้างขยะ 0.74 กิโลกรัมต่อคนต่อวันและจากอัตราการเกิดของประชากรโลกในปัจจุบัน ในปี 2050 จะมีขยะร่วม 3.4 พันล้านตัน ที่กระทบโดยตรงต่อสุขภาพร่างกาย ความมั่นคงปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมของโลก
ปีที่แล้ว2018ไทย, มาเลเซีย, เวียตนาม ได้ปรับแก้กฏหมายห้ามนำขยะจากประเทศร่ำรวยแล้วเร็วช้าต่างกัน รวมทั้งมีการณรงค์การลดใช้ถุงและขยะพลาสติกให้น้อยลง
มีการพยายามสร้างให้เมืองมีการลดการใช้ขยะน้อยลงรวมทั้งมีระบบการจัดการที่ยิ่งยืนตามแนวคิดที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายการจัดการที่มากขึ้นอีกประมาณ 20-50% ที่จะต้องมีการเจียดงบประมาณประจำปีมาจ่ายในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลทั่วโลกต้องดิ้นรนแก้ไขกันต่อไป
นอกจากนั้นสหประชาชาติยังมีการแก้ปัญหาการส่งขยะไม่ตรงตามสัญญาที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาในอนาคต จึงออกกฏว่าก่อนจะส่งเรือขนขยะไปทิ้งที่ใดๆ ให้แจ้งเตือนกับประเทศปลายทางให้ถูกต้องชัดเจนเสียก่อน ว่าจริงตามข้อตกลงกันหรือไม่
"บริโภคนิยม" กำลังเดินทางมาถึงทางตัน ถ้าไม่แก้ไขปัญหาในเรื่องขยะที่เกิดจากการบริโภคกันมากมาย ขยะล้นโลก,
ยังไม่นับ "ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติไม่พอเพียงเลี้ยงดูกับประชากรที่ล้นโลกในอนาคต"