หยุดกลัวตกงานเพราะ AI แต่คิดวิธีใช้ AI สร้างเงินให้เราโดยไม่ต้องทำงานดีกว่า
เราได้ยินคำว่า AI จากการประโคมของสื่อต่างๆ แต่การรู้จัก Yong He ในวันนี้ช่วยกระเทาะเปลือก AI ในมุมที่เราไม่เคยมอง
Yong He ชายวัยกลางคนสัญชาติจีน ผู้เคยดำรงตำแหน่ง CEO ของ #DeepBrain มาก่อน บริษัทของเขาพัฒนา AI ให้บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Lenova, Microsoft และ Huawei ตอนนี้เขาลุยโปรเจกต์ใหม่ที่ชื่อว่า DeepBrainChain การสัมภาษณ์ในครั้งนี้ทำให้เรารู้จัก AI ในมุมที่ไม่เคยคิด และเห็นโอกาสจาก AI อย่างที่ไม่เคยคาด
#AI ในมุมหม่นแสง
“ทุกคนมอง AI ในมุมบวกและคิดว่า AI คือยาครอบจักรวาล รักษาและเยียวยาได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ผมไม่เถียงว่า AI กำลังเปลี่ยนแปลงโลก เปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คน แต่ผมอยากเป็นคนหนึ่งที่ลุกขึ้นมาเป็นปากเป็นเสียงให้นักพัฒนา AI บ้าง อยากบอกให้ทุกคนได้รับรู้ว่าเส้นทางการพัฒนา AI แต่ละตัวไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาย” Yong He พูดในฐานะคนที่คลุกคลีวงการนี้มานับ 10 ปี
ในงานประชุม World Economic Forum ที่ผ่านมาหมาดๆ ยกให้ AI เป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตาและกระทบการดำเนินชีวิตของคน พร้อมคาดการณ์ว่า AI จะทำให้คนไทยกว่า 4,900,000 คนตกงาน แต่ก่อนเราจะพัฒนา AI ไปถึงจุดนั้น น้อยคนที่จะรู้ว่าเราต้องใช้ ข้อมูล (Data) อัลกอริทึม (Algorithm) และ พลังประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Computing Power) จำนวนมหาศาล
#เมื่อเจอปัญหา เรามี 2 ทางเลือกคือ สู้ต่อ หรือยอมแพ้
“ปัญหาแรกที่บริษัทของผมรวมถึงเพื่อนๆ ร่วมวงการเจอกันคือ พลังประมวลผลคอมพิวเตอร์ มีราคาสูง การที่ผมจะสอน AI ตัวหนึ่งให้ฉลาด ผมต้องใส่ส่วนผสม 3 อย่างลงไป คือ ข้อมูล อัลกริทึม สุดท้ายผมต้องใช้พลังประมวลผลคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่วนผสมตัวสุดท้ายมีราคาสูงมาก” หากนึกภาพไม่ออกว่ากำลังคอมพิวเตอร์ประมวลผล ราคาแพงมากแค่ไหน? ลองนึกภาพตามง่ายๆ ว่าค่าใช้จ่ายในการเทรน AlphaGo Zero ของ Google ใช้เงินประมาณ 35 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
“ปัจจุบันการขายพลังประมวลผลคอมพิวเตอร์ เหมือนปลาใหญ่กินปลาเล็ก บริษัท Cloud Computing สามารถตั้งราคาได้ตามใจชอบ บริษัทเล็กต้องแบกรับต้นทุนการพัฒนา AI ที่สูงขึ้น ส่วนบริษัท Startup ยิ่งร้ายหนัก เพราะราคา Computing Power แทบปิดประตูโอกาสไม่ให้ Startup เหล่านี้มีโอกาสเติบโตเลย”
เพราะเจอปัญหาหนักที่มองไปทางไหนก็เหมือนไร้ทางออก แทนที่จะยอมแพ้ Yong He และทีมกลับทำงานหนักขึ้นเพื่อสู้ต่อ เขาศึกษาและหาวิธีลดต้นทุน Computing Power จนกระทั่งเขาได้รู้จัก Blockchain ที่มีคุณสมบัติสำคัญคือตัดตัวกลางและสามารถลดต้นทุนได้ เขาไม่รอช้าตั้งทีมเทคโนโลยีที่ออฟฟิศเซี่ยงไฮ้เพื่อศึกษา Blockchain ในขณะเดียวกันตั้งทีมวิจัยและพัฒนา AI ที่ Sillicon Valley ทั้ง 2 ทีมนี้ทำงานภายใต้โปรเจกต์ที่ชื่อว่า @DeepBrainChain
#เมื่อเจอสิ่งที่ใช่ เรามักไม่รีรอและรีบลงมือทำ
“ผมเริ่มจากถามตัวเองและทีมก่อนว่า เราเริ่มต้นทำอะไรได้บ้าง? ปัญหาแรกที่เราอยากแก้มากที่สุดคือลดต้นทุน Computing Power แต่เดิมราคาสูงเพราะเราซื้อผ่านคนกลาง DeepBrainChain เลยคิดสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยน Computing Power หรือพูดให้เข้าใจง่ายคือ Tinder for Computing Power แทนที่จะจับคู่คนรัก แต่จับคู่คนทั่วไปที่มี Computing Power กับบริษัท AI ทั่วโลก ทำให้ตัดบริษัทตัวกลางออกจากสมการ” ข้อดีของ DeepBrainChain คือคนทั่วไปมีรายได้เพิ่ม ส่วนบริษัท AI สามารถเลือกซื้อราคา Computing Power ที่ขึ้นลงตามอุปสงค์และอุปทานตลาด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจของบริษัทใหญ่ วิธีการนี้ Yong He ประเมินว่าจะลดต้นทุนได้ 70%
#หน้าที่ของผมคือ มองหาโอกาสและรีบคว้ามันไว้
หลังจากระดมทุนผ่าน ICO ซึ่งเหรียญเคยพุ่งถึง 400% ลิสเหรียญขึ้นที่กระดานเทรด Hadax, Gate.io, Kucoin และ Huobi แล้ว ก้าวถัดไปของ DeepBrainChain คือการขยายตลาด ซึ่งทีมมองว่าประเทศไทยคือโอกาส ต้นเดือนกันยายนพวกเขาเดินทาง Roadshow และหา Partners ที่ไทย “หน้าที่ของผมคือ มองหาโอกาสและรีบคว้ามันไว้ จุดแข็งของประเทศที่พวกเราเห็นคือ กฎหมายที่ชัดเจนเอื้อต่อผู้ประกอบการสินทรัพย์ดิจิทัล และ คนไทยตื่นตัวในเรื่องนี้ติดอันดับต้นๆ ของโลก เราจึงเลือกขยายตลาดที่ประเทศไทย”
#บทส่งท้าย เมื่อต้นทุนถูกลง AI จะเป็นเครื่องมือของทุกคนที่แท้จริง
“เมื่อพูดถึง AI สิ่งที่ทุกคนตื่นตัวมากที่สุดคือ AI จะเข้ามาแย่งงาน หลายอาชีพจะตกงาน ผมไม่ปฎิเสธได้เต็มปากว่าสิ่งที่ทุกคนกลัวไม่ใช่เรื่องจริง แต่หากต้นทุนการพัฒนา AI มีราคาตำ่ลง
หมายความว่าทุกคน แม้กระทั่ง Startup เล็กๆ จะสามารถพัฒนา AI และใช้ประโยชน์จาก AI ได้ AI จะไม่เป็นเครื่องมือแค่องค์กรหรือบริษัทใหญ่ที่มีเงิน แต่สามารถเป็นเครื่องมือหาเงินของทุกคน”
สำหรับคนที่สนใจข้อมูล DeepBrainChain สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ :https://www.deepbrainchain.org/dptlanding.html
*บทความนี้เป็นบทความสนับสนุน
Cr. cryptonist
ติดตามข่าวสารการเงิน เศรษฐกิจรอบโลกได้ที่ คลิ๊ก
เข้ากลุ่มนักเทรดใน Facebook คลื๊ก นี้