เปิดตัว 'ดัชนีทุนมนุษย์' ธนาคารโลก : กลุ่มธนาคารโลก เปิดตัวระบบใหม่ใช้ความสำเร็จในการ พัฒนาทุนมนุษย์ มาเป็นเกณฑ์จัดอันดับ ของประเทศต่างๆ

ถือเป็นความพยายาม กระตุ้นให้รัฐบาลทั้งหลายลงทุนด้าน การศึกษาและดูแลสุขภาพประชาชน อย่างมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

การประชุมประจำปีของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) และกองทุนการเงินระหว่าง ประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) บนเกาะบาหลี ของอินโดนีเซีย เปิดตัวดัชนีทุนมนุษย์ ของธนาคารโลก ซึ่งทุนมนุษย์ในที่นี้หมายถึง ความรู้ การกินดีอยู่ดี และทักษะของบุคคล ที่สะสมตลอดชั่วชีวิต

ดัชนีล่าสุดจากธนาคารโลกจัดอันดับ ประเทศตามมาตรวัดด้านสุขภาพ การศึกษา และการอยู่รอดได้ ประเมินผลิตภาพ ในอนาคตและรายได้ที่ประชาชนใน 157 ประเทศสมาชิกเวิลด์แบงก์จะหาได้ รวมถึง มาตรวัดโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ผลการจัดอันดับพบว่าประเทศยากจน ในแอฟริกาอยู่ในอันดับท้ายๆ ชาดอยู่ใน อันดับต่ำสุด รองลงมาคือซูดานใต้ ขณะที่ สุดยอดดัชนีทุนมนุษย์ตกเป็นของสิงคโปร์ ตามด้วยเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฮ่องกง

ธนาคารโลกพบด้วยว่า เฉลี่ย 56% ของเด็กที่เกิดในปัจจุบันนี้จะสูญเสียรายได้ ที่อาจหาได้ตลอดชีวิตไปมากกว่าครี่ง เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้ลงทุนมากพอที่จะ สร้างหลักประกันได้ว่าประชาชนของตน มีสุขภาพดี มีการศึกษา พร้อมสำหรับ การพัฒนาสถานประกอบการ

จิม ยอง คิม ประธานเวิลด์แบงก์กรุ๊ป หวังว่า ดัชนีใหม่จะกระตุ้นให้รัฐบาล มีมาตรการปรับปรุงอันดับประเทศตน เหมือนกับที่พยายามยกระดับตนเอง ในดัชนียอดนิยมของเวิลด์แบงก์ที่สำรวจ "ประเทศที่ดีที่สุดในการทำธุรกิจ" จัดอันดับตามความง่าย ดูว่าประเทศใด เสียภาษีต่ำและกฎระเบียบเป็นธรรม ต่อภาคธุรกิจมากกว่า

คิมรู้ดีว่าการจัดอันดับครั้งนี้ต้องเป็นที่ ถกเถียงกันมาก แต่ก็แจ้งกับผู้สื่อข่าวว่า ความจำเป็นของการลงทุนในมนุษย์ให้มาก และดียิ่งขึ้นเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้นำไม่สะดวกใจ อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

"นี่คือการดึงความสนใจของพวกเขา เข้าสู่วิกฤติที่เราคิดว่าเป็นเรื่องจริง เกี่ยวข้องกับผลิตภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจ" คิมกล่าวและว่า ประเทศ สมาชิกเวิลด์แบงก์และคณะกรรมการ บริหารต่างเห็นชอบดัชนีทุนมนุษย์ อย่างเป็นเอกฉันท์แล้ว

กว่าจะได้ตัวเลขอันดับประเทศต่างๆ ออกมา ดัชนีทุนมนุษย์ต้องวัดอัตราเสียชีวิต ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ อัตราแคะแกรนของ เด็กเล็กเนื่องจากขาดสารอาหารและปัจจัย อื่นๆ วัดสัมฤทธิผลด้านสุขภาพโดยดูจาก สัดส่วนประชากรอายุ 15 ปีที่รอดชีวิตไปจนถึงอายุ 60 ปี นอกจากนี้ยังวัดความสำเร็จ ด้านการศึกษาของประเทศนั้นๆ พิจารณา จากจำนวนปีที่เด็กได้ศึกษาในโรงเรียน จนถึงอายุ 18 ปี ผนวกกับสัมฤทธิผลด้าน การศึกษาเมื่อเทียบกับเกณฑ์นานาชาติ

เวิลด์แบงก์พบว่า ประเทศในแอฟริกา มีอัตราเด็กแคะแกร็นสูง ผลิตภาพและ รายได้ที่อาจเกิดขึ้นมีเพียงราว 29% ของ ศักยภาพที่พวกเขาควรทำได้หากสภาพการณ์ เอื้ออำนวยในสิงคโปร์ที่ครองอันดับ 1 เด็กๆ มีแนวโน้มทำรายได้ 88% ของศักยภาพ ขณะที่ในสหรัฐซึ่งอยู่ในอันดับ 24 ระหว่าง อิสราเอลกับมาเก๊า ผลิตภาพและรายได้ อยู่ที่ 76% ของศักยภาพ

คิมเผยด้วยว่า 28 ประเทศลงนาม ยอมรับดัชนีเป็นรายแรกๆ เพื่อร่วมมือกับ ธนาคารโลกปรับปรุงแผนพัฒนาการลงทุน ด้านสุขภาพและการศึกษา

งานนี้ธนาคารโลกไม่วายเตือนว่า กระแสระบบอัตโนมัติและปัญญา ประดิษฐ์ (เอไอ) ที่กำลังมาแรงจะลดงาน ทักษะต่ำจำนวนมากภายในไม่กี่ปี ทำให้ ประชาชนที่การศึกษาน้อยและสุขภาพ ไม่แข็งแรงต้องแข่งขันกันหางานทำ ด้วยความยากลำบากยิ่งขึ้น


Source: กรุงเทพธุรกิจ

——————————————                                                                            ———————————————

ติมตามข่าวสารการเงิน เศรษฐกิจรอบโลกได้ที่ คลิ๊ก
เข้ากลุ่มนักเทรดใน Facebook คลื๊ก นี้


 

0 Share