"จีน" นั้นมีแผนระยะยาวที่ต้องการเปลี่ยนจากประเทศ "ทุนนิยมชั้นล่าง" ขายแรงงานราคาถูก สินค้าไร้ยี่ห้อไร้นวัตกรรม มาเป็นประเทศ "ทุนนิยมชั้นสูง" ที่ขายสินค้ามียี่ห้อราคาแพง
มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนตร์ คอมพิวเตอร์ โดรน ค่าจ้างแรงงานจึงจะต้องสูงขึ้น คุณภาพของแรงงานก็เป็นแรงงานมีทักษะ เงินเดือนแพง ที่มีตัวแปรที่สำคัญคือ "เทคโนโลยี" ที่จีนมองไปที่ทั้งการวิจัยและพัฒนารวมทั้งการ "ซื้อควบรวมกิจการบริษัทต่างชาติ" โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกา ที่ได้มาเร็วกว่าการพัฒนาเอง
"อเมริกา" ก็ทราบแผนนี้ดี จึงได้ปรามยุโรปให้ออกกฏหมายให้เข้มงวดมากขึ้น ในการขายกิจการใดๆให้กับบริษัทจาก "จีน" โดยเฉพาะบริษัทที่มีเทคโนโลยีที่ไฮเทคหรือนวัตกรรมชั้นสูง
ซึ่งในระหว่าง "สงครามการค้าจีนกับอเมริกา" กำลังดุเดือดนั้น จึงทำให้จีนหันไปเน้นที่การซื้อควบรวมกิจการกับประเทศใน "ยุโรป" แทน
นักวิเคราะห์ตะวันตกที่แนวโน้มนิยมอเมริกา บอกว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ดีนักที่ยุโรปจะถือโอกาศนี้ปล่อยให้จีนเอาเปรียบโดยการปล่อยให้มี "การถ่ายโอนเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญา" ไปให้จีนอย่างง่ายๆ ยุโรปควรจะรอบคอบไตร่ตรองมากกว่านี้
"อเมริกา" ได้กล่าวหา "จีน" ว่าใช้ความพยายามโดยการนำของภาครัฐในการบังคับเป็นเหมือนแขนที่แข็งแกร่งในการขโมยเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาของอเมริกา”
Rob Atkinson หัวหน้ามูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม (ITIF) แห่งกรุงวอชิงตันดีซีกล่าวว่ายุโรปควรหยุดการทำข้อตกลงกับจีนซึ่งเขากล่าวว่าจะช่วยลดงานในความพยายามของทรัมป์ในการลงโทษจีนลงด้วย
“จีน” นั้นมีนโยบายแผนการ “ผลิตในจีน” หรือ Made In China เป็นโครงการระยะยาว ที่จะเริ่มในปี 2025 หรืออีก 6 ปีข้างหน้า ที่ต้องการสร้างสินค้าทันสมัยไฮเทค ที่มีมูลค่าแพง ช่วยยกระดับแรงงานเป็นแรงงานมีทักษะ เงินเดือนแพง ทำให้สังคมจีนถูกยกขึ้นอีกทีตามไป เหมือนเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ซึ่งแผนนี้จะต้องกลายเป็นการสร้าง “สงครามการค้ากับอเมริกา” โดยปริยาย เพราะอเมริกาเป็นแนวหน้าในเรื่องการผลิตสินค้าทันสมัยของโลกมาก่อน
จากรายงานของ South China Morning Post กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทำให้ทราบว่ากลุ่ม เครือบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน30 แห่ง ยังพึ่งพานำเข้าส่วนประกอบที่ใช้ในอุตสาหกรรมที่ผลิตจรวด เครื่องบินขนาดใหญ่และรถยนต์ในจีน จากต่างประเทศ
แต่แผนการ “ผลิตในจีน” นั้น จีนได้ประกาศกับประชาชนของตัวเองและประชากรโลกว่าพวกเขาจะก้าวมาเป็นผู้นำของเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังห่างชั้นจากตะวันตกอยู่มากในหลายเรื่อง แต่ก็เร่งตามทันในหลายเรื่องที่เห็นได้จากการผลิตระบบส่งสัญญาณ 5จีคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ไฟฟ้า รถไฟฟ้าระบบราง อาวุธสงคราม เครื่องบิน แต่จีนก็กลัวว่าจะได้รับการต่อต้านจากประเทศตะวันตกอื่นๆด้วย อย่างเช่นอเมริกา
Chris Dong ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของจีนที่ IDC บอกว่า “ช่องว่างทางเทคโนโลยีระหว่างสองประเทศยังห่างอยู่มาก” ไม่เพียงแต่ในส่วนประกอบเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสามารถด้านนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงทางวิศวกรรมขั้นพื้นฐานและทางด้านภาคธุรกิจ เขาบอกว่า “จีนให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายวิจัยพัฒนาด้านไอทีเกี่ยวกับการสร้างฮาร์ดแวร์และโครงสร้างพื้นฐานใหญ่ๆมากกว่า ในขณะที่อเมริกาใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์และบริการเป็นหลักในการปรับเปลี่ยนไปสู่สังคมเทคโนโลยีดิจิตอล”
“ความมั่งคั่งของเศรษฐกิจในสังคมอินเทอร์เน็ตของจีนนั้นเกิดบนฐานการใช้เทคโนโลยี” ที่ต้องหล่อเลี้ยงโดยการบริโภคเทคโนโลยีและการปรับใช้จากภาคสังคมเศรษฐกิจ ทั้งภาคการเงินของเอกชน รวมทั้งนโยบายและการสนับสนุนทางการเงินของรัฐบาลจีนด้วย
ดังนั้นเมื่อสงครามการค้า และแผนสกัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากอเมริกาเกิดขึ้นมา “จีน” จึงต้องมองไปที่ “ยุโรป” ในการเป็นเป้าหมายหลักในการหาแหล่งถ่ายทอดดูดซื้อนวัตกรรมที่ทันสมัยแทน ซึ่งจีนมองว่ายุโรปมีนโยบายการค้าที่เป็นมิตรมากกว่าอเมริกาน่าจะทำให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นไปได้ดีกว่าอเมริกา ที่จีนมีนโยบายเรื่องนี้มากนานแล้ว ที่ว่านักลงทุนจากตะวันตกเข้ามาลงทุนทางนวัตกรรมที่ทันสมัยในประเทศจีน จะต้องถ่ายทอดเรื่องความรู้Khowhow ให้กับผู้ร่วมทุนท้องถิ่นชาวจีนด้วย
ในครึ่งปีแรกของ ปี 2018 ที่ผ่านมา จีนได้ควบรวมและซื้อกิจการในการลงทุนที่ยุโรปไปแล้ว 22 พันล้านดอลล่าร์มากกว่าในอเมริกาเหนือ 9 เท่าตัว แสดงถึงความกลมกลืนของทั้งสองฝั่ง แต่ก็มีการปรามและเตือนยุโรปจากอเมริกาในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี ไปให้จีนมาเรื่อยๆ แสดงถึงว่า “อเมริกา” นั้นต้องการสกัดการถ่ายทอดนวัตกรรมจากตะวันตกไปให้จีนอย่างหนัก เพราะรู้ว่ามันคือบันไดไปสู่การเป็นมหาอำนาจของจีนในอนาคต
( ... กรณีการที่อเมริกาสั่งกูเกิ้ลแบนการค้าขายและไม่ให้ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยท์ รวมทั้งฟังก์ชั้นต่างๆแก่ "หัวเหว่ย" นั้น จึงเป็นแค่ส่วนหนึ่งของสมรภูมิของ “สงครามการสกัดการถ่ายทอดเทคโนโลยี” ของตะวันตกไป “จีน” )
Cr.Jeerachart Jongsomchai