สงครามกัมพูชา และอินโดจีน

เมื่อ 15 - 18 พฤษภาคม 1989 ลุงกอร์บาชอฟผู้นำ "รัสเซีย" และ ปู่เติ้งเสี่ยวผิง ของ "จีน" ได้ประชุมสุดยอดเพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างกันและนำไปสู่ การยุติของ "สงครามกัมพูชา" ที่ฆ่ากันเองมากมายเป็นเรือนล้านคนและนำเสถียรภาพมาสู่ภูมิภาคอินโดจีนและอาเซี่ยนด้วย

ตั้งแต่ ปี 1953 ที่ “สตาลิน” อดีตผู้นำของ "รัสเซีย" เสียชีวิตลง ทำให้ “นิกิต้า ครุสชอฟ”ขึ้นมาแทน และไม่ลงรอยกับผู้นำ “เหมาเจ๋อตุง” ของ "จีน" ทำให้บาดหมางกัน เช่น

ปี 1958-1959 โดย “เหมาเจ๋อตง”ของจีน ไม่ไว้ใจสหภาพโซเวียตที่เป็นพันธมิตรของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ในปี 1959 ครุสชอฟ พบกับ ไอเซนฮาวร์ ผู้นำ “อเมริกา” (1953-1961) เพื่อลดความตึงเครียดทางการเมืองกับโลกตะวันตก สหภาพโซเวียตได้สละความช่วยเหลือในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของจีนและไม่ได้เข้าข้างประเทศจีนใน “สงครามจีน-อินเดีย” ในปี 1962 ทำให้จีนไม่พอใจมาก

เหมาเจอตุง คาดว่าการตอบโต้ในเชิงรุกจาก ครุสชอฟ ในอุบัติการณ์ยู-2 ที่เกิดขึ้นในปี 1960 จะทำให้โซเวียตเลิกคิดที่จะอยู่ร่วมกันกับกลุ่มชาติตะวันตก. ครุสชอฟเรียกร้องคำขอโทษอย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ที่ประชุมสุดยอดปารีส 1960; ไอเซนฮาวร์ปฏิเสธ เหมาและครุสชอฟตีความการกระทำเช่นนี้ว่า ไอเซนฮาว ปรามาสประเทศสังคมนิยมทั้งหมด. จีนตอบโต้ด้วยเรียกร้องให้ ครุสชอฟ ใช้กองกำลังกระทำการต่อต้านการรุกรานของอเมริกา เมื่อ ครุสชอฟ ไม่ตอบสนองก็เกิดถกเถียงกันในที่ประชุมบูคาเรสต์ของโลกคอมมิวนิสต์และภาคีแรงงานแต่ละโจมตีอุดมการณ์ของคนอื่น เหมาว่ากล่าว ครุสชอฟ ว่า “เป็นคนที่อ่อนแอ”, ครุชชอฟ โต้กลับ เหมา โดยกล่าวว่า “เป็นคนบ้าไร้สติ”.

ในปี 1962 “สงครามจีนกับอินเดีย” ที่โซเวียตรัสเซีย ไม่เข้าข้างจีน ทำให้ “ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต” ก็เริ่มรุนแรงชัดเจนตั้งแต่ตอนนั้น โดยโซเวียตตอบโต้โดยนำนักวิทยาศาสตร์และช่างเทคนิคโซเวียต 1,400 คนออกจากประเทศจีนที่นำไปสู่การยกเลิกการมากกว่า 200 โครงการในจีนร่วมถึงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และการอวกาศการถอนตัวจากประเทศจีนทำให้เกิดความล้มเหลวทางเศรษฐกิจจีน และแผนการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าล้มเหลว

จนนำไปสู่การทำ “สงครามตามแนวชายแดนระหว่างกันในปี 1969” และยังเป็นการเปิดโอกาศให้ "อเมริกา" ยิ้มแก้มปริ ที่เห็นทั้งสองฝ่ายแตกแยกกัน

ที่ อเมริกา พยายามใช้ลิ่มตอกย้ำความแตกแยกโดยการส่ง "การทูตปิงปอง" ของอเมริกาไปเยือนจีนในปี 1971 เพราะรู้ว่าจีนชอบและเก่งปิงปอง เพื่อปูทางให้ ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ไปเยือนปักกิ่งในปี 1972 เป็นเวลา 7 วัน ในสามเมืองของ "จีนแดง"

จุดหมายหลัก ของอเมริกาคือ ทำให้ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองแตกแยกกันนานและมากที่สุด เพื่อ "สงครามเย็น" ของตนจะง่ายขึ้น

กลับไปวันที่ 15-18 พฤษภาคม 1989 อีกครั้ง, แม้จะเป็นเจ้าภาพและมีเจตนาเพื่อจะคืนดี ลืมอดีต เดินไปข้างหน้าด้วยกัน แต่ท่าทีของจีนที่กำหนดแนวทางว่านั้นบอกว่า "แค่จับมือ ไม่โอบกอด" ( จื่อ ว่อ โส่ว, ปู้ ยง เป้า ) และ "ยุติอดีต บุกเบิกอนาคต" ( ภาษาทางการทูตนั้นสำคัญมาก เหมือนเช่น โอบาม่า ไม่ได้รับการกอดจากราอูล คาสโตร แม้เขาจะพยายามโผไปซบแค่ไหนก็ตาม เมื่อไปเยือนคิวบาในปี 2016 )

10.00 - 12.30 ของวันที่ 16 พฤษภาคม 1989 "เติ้งเสี่ยวผิง" ผู้ชราวัย 85 ปี แต่ความทรงจำเป็นเลิศ สามารถเจรจาได้โดยไม่ต้องมีบท ทั้งยังพูดได้อย่างมีขั้นตอนและกระชับ บอกว่า "ในรอบร้อยกว่าปีนั้น จีนได้รับความเสียหายจากประเทศมหาอำนาจมากมาย ... หลายสิบปีที่ผ่านมานี้ภัยคุกคามของจีนนั้นมาจากไหน และบอกว่าความสัมพันธ์ที่วุ่นวายระหว่างจีนและรัสเซียนั้นเกิดเพราะรัสเซียวางจีนในตำแหน่งที่ผิด ทำให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน แต่ก็ไม่ลืมว่ารัสเซียช่วยวางรากฐานเรื่องระบบอุตสาหกรรมในตอนก่อตั้งระบบสาธารณะใหม่ๆ แต่จีนก็ไม่คิดว่าตัวเองถูกไปเสียทุกอย่าง ... จีนไม่ต้องการจะโต้แย้งกับรัสเซียอีกต่อไป เพราะประสงค์จะก้าวไปข้างหน้าในอนาคต”

ส่วน “ลุงกอร์บาชอฟ ของรัสเซีย” วัย 58 ปี ตอนนั้นบอกว่า เหมือนเป็นผู้น้อยได้คุยกับผู้อาวุโสที่ได้เจรจากับท่านปู่เติ้งเสี่ยวผิง บอกว่า , “โซเวียตรัสเซีย มีความผิดและควรต้องรับผิดชอบระดับหนึ่ง และยังเห็นว่าปัญหาในอดีตควรยุติไว้เพียงแค่นี้”

และในรายละเอียดการประชุมวันนั้นก็บอกด้วยว่า “จุดเริ่มต้นของอนาคตความสัมพันธ์ของทั้งสองที่จะกลับคืนสู่ภาวะปรกตอนั้น จะต้องไม่มีประเทศที่ 3 ที่จะต้องเผชิญหน้ากัน รวมทั้งไม่เป็นภัยต่อประเทศที่3” ที่นำไปสู่ “ความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนเชิงสร้างสรรค์”

และจากการประชุมในวันนั้นชอง ชายสองคน จากจีนและรัสเซีย ได้นำไปสู่ “การยุติของสงครามกัมพูชา” ที่คนกัมพูชาหลายคนไม่ทราบว่าที่พวกเขาฆ่ากันตายเป็นล้าน พิการเป็นแสน และไม่จบไม่สิ้นนั้น ก็มาจากมหาอำนาจทั้ง จีน(เขมรแดง) , รัสเซีย(เวียตนาม เฮงสัมริน), อเมริกา(ลอนนอล) ชักใยอยู่เบื้องหลังด้วย

จากนั้นไม่กี่เดือน 26 กันยายน 1989, โซเวียตรัสเซียที่หนุนเวียตนามอยู่มานานก็เตรียมถอนตัวออกจากเวียตนาม “เฮงสัมริน” ชาวเขมรที่เคยมีเวียตนามหนุนหลังอยู่ ก็ได้มีการถอนทหารเวียตนามออกจากกัมพูชาไป หลังจากเวียตนามเข้ายึดกัมพูชามาตั้งแต่ปี 1979 จนลูกหลานลูกครึ่งเวียตนามกัมพูชา มีพบเห็นได้ทั่วไป

ซึ่ง “อเมริกา” นั้น ไม่พอใจเพราะเห็นฝ่ายสังคมนิยมเดิมกลับมาคืนดีกันอีกครั้ง ทำให้ “การครองโลกชายเดี่ยว” ของเขายากขึ้น

น่าสังเกตุว่าใน “จีน” ระหว่างนั้น จากวันที่ 15 เมษายน ถึง 4 มิถุนายน 1989” ก็เกิดเหตุการณ์ “เทียนอันเหมิน” ที่มีการประท้วงจากนักศึกษาจีนเรียกร้องประชาธิปไตย หลายเดือน จนนำไปสู่การปราบปรามนักศึกษาจีนกลางกรุงปักกิ่ง ที่ทำให้นักศึกษาหลายคนเสียชีวิต และตามสูตรที่จีนถูกประเทศตะวันตกและญี่ปุ่นบริวารในเอเชียคว่ำบาตรรอยู่พักใหญ่ เป็นบททดสอบแรกของ “จีน” หลัง “สงครามเย็น” จากประเทศตะวันตก

( น่าสังเกตว่า “ใครหนุนหลังนักศึกษาจีน” ในช่วงที่จีนกำลังจะจัดการประชุมเพื่อคืนดีกับโซเวียตรัสเซีย ในระหว่าง 15-18 พฤษภาคม 1989 ปีเดียวกัน อย่างพอเหมาะพอเจาะ เหมือนตั้งใจจะเอาการประท้วงที่เทียนอันเหมิน มาสกัดการประชุมและ “การคืนดีของทั้ง จีนและโซเวียตรัสเซีย” )

จากวันนั้นที่สองผู้อาวุโสของทั้งจีนและรัสเซียได้ประชุมกลับมาคืนดี “กัมพูชา” ก็กลับมาสงบ ไร้การฆ่าฟันรันแทงกัน ประเทศในอินโดจีน ที่เคยเกลียดชังกัน ก็กลับมาค้าขายท่องเที่ยวไปมาหาสู่กันได้เหมือนปัจจุบัน ไทยไปเวียตนาม กัมพูชา ลาวได้ และกลับมามีเสถียรภาพอีกครั้ง เศรษฐกิจดีขึ้น รักกันมากขึ้น

ในปี 2019 การที่เราเห็นลุงปูตินกับลุงสีจิ้นผิงรักกันดี มีความร่วมมือกันมากมายทั้งการการเมือง การค้า เศรษฐกิจ ท่องเที่ยว สังคมวัฒนธรรมมากมายในวันนี้ ก็เป็นดอกผลของการประชุมในวันนั้นของปู่เติ้งเสี่ยงผิงและลุงกอร์บาชอฟที่ได้ปลูกเพาะเมล็ดไว้แล้วเมื่อ 1989

 “สงครามกัมพูชา" และ "สงครามอินโดจีน" ในวันนั้นได้สอนเราว่า เมื่อใดที่เราปล่อยให้ต่างชาติมาแทรกแซงประเทศใดประเทศหนึ่ง เช่นประเทศหลักๆของดินแดนนี้อีกครั้ง ความขัดแย้งภายในของประเทศนั้นๆ ก็อาจจะขยายผลวงกว้างออกไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียงด้วย ที่อาจจะนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง การล่มสลายทางการค้า เศรษฐกิจ การท่องเที่ยวระหว่างภูมิภาคได้อย่างในอดีตเช่นกัน


Cr.หนังสือ "บันทึกการทูตจีน 10 เรื่อง" โดย พณ เฉียนฉีเชิน 
https://en.wikipedia.org/wiki/1989_Sino-Soviet_Summit
https://th.wikipedia.org/…/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B…https://th.wikipedia.org/…/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B…
https://en.wikipedia.org/wiki/1989_Tiananmen_Square_protests

0 Share