เมื่อ 20 ปีก่อน โลกได้รู้จักกับสกุลเงินยูโร เป็นเงินเสมือนเพื่อชำระบัญชีและทำธุรกรรมทางการเงินที่มีอยู่จริงสกุลแรก จากนั้น 3 ปีต่อมาจึงมาในรูปธนบัตรและเหรียญกษาปณ์

2 ทศวรรษที่ผ่านมาเงินยูโรได้ผ่านช่วงเวลาอันน่าจดจำมากมาย เริ่มตั้งแต่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน

วันที่ 31 ธ.ค.2541 หนึ่งวันก่อนเปิดตัวเงินยูโรตามสนธิสัญญามาสทริชต์ก่อตั้งสหภาพยุโรป (อียู) ทางการประกาศอัตราแลกเปลี่ยนไว้ที่ 1 ยูโรเท่ากับ 1.95583 มาร์คเยอรมนี 6.55957 ฟรังก์ฝรั่งเศส และ 1.936,27 ลีร์อิตาลี เจ้าหน้าที่ธนาคารและตลาดหลักทรัพย์ยุโรปหลายหมื่นคนเตรียมความพร้อมเพื่อให้มั่นใจว่า ทุกอย่างจะเรียบร้อยเมื่อตลาดเปิดในวันที่ 4 ม.ค. ร้านรวง ติดราคาสินค้าทั้งในสกุลเงินท้องถิ่นและยูโร

สกุลเงินทางการ

วันที่ 1 ม.ค.2542 ยูโรกลายเป็นสกุลเงินทางการสำหรับประชาชน 291 ล้านคนใน 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปน

เงินสกุลใหม่ใช้สำหรับทำธุรกรรมจริงในธนาคาร การชำระเงินด้วยเช็ค เช็คเดินทาง และบัตรเครดิต ครั้นถึง วันที่ 4 ม.ค.ก็ได้เข้าตลาดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ยูโรซื้อขายกัน ในอัตรากว่า 1.18 ดอลลาร์ แต่ไม่กี่สัปดาห์ให้หลัง ราคาร่วงลงเหลือไม่ถึง 1 ดอลลาร์ต่อ 1 ยูโร

ล่วงเข้าสิ้นเดือน ต.ค.ปีเดียวกัน ยูโรดิ่งลงต่ำสุดที่ 0.8230 ดอลลาร์ ต่อมาในวันที่ 1 ม.ค.2544 กรีซเป็นประเทศที่ 12 ที่ร่วมใช้เงินสกุลเดียว

เหรียญและธนบัตร

สกุลเงินยูโรจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมในปี 2542 อียูออกธนบัตร 1.5 หมื่นล้านยูโร และเหรีญกษาปณ์กว่า 5 หมื่นล้านยูโรไหลเวียนในระบบ

ผู้คนต้องทำตัวให้คุ้นเคยกับการใช้เงินสกุลเดียว เริ่มต้นก็ใช้เครื่องคิดเลขคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน ในช่วงที่แต่ละประเทศยังใช้เงิน 2 สกุล ทั้งสกุล ท้องถิ่นของตนและเงินยูโรไปจนถึง 1 มี.ค.2542 ครั้นถึง วันที่ 15 ก.ค. ยูโรก็กลับมามีมูลค่าเท่ากับดอลลาร์ อีกครั้ง

จุดเด่นอย่างหนึ่งของธนบัตรยูโรคือใช้ภาพสะพานและหน้าต่าง แตกต่างจากธนบัตรอื่นๆ ที่ตีพิมพ์ภาพสัญลักษณ์ของชาติ

เพิ่มสมาชิก

ปี 2546 สวีเดนลงประชามติไม่ใช้เงินยูโร เช่นเดียวกับเดนมาร์กและอังกฤษ แต่ก็มีหลายประเทศ ที่เข้ามาร่วมใช้เงินสกุลเดียว ทั้งสโลวีเนีย ปี 2550, ไซปรัสและมอลตา ปี 2551, สโลวาเกีย ปี 2552, เอสโตเนีย ปี 2554, ลัตเวีย ปี 2557 และลิทัวเนีย ปี 2558

วิกฤติหนี้สิน

วันที่ 15 ก.ค.2551 เงินยูโรมีอัตราแลกเปลี่ยน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซื้อขายที่ 1.6038 ดอลลาร์ต่อ 1 ยูโร ในช่วงที่สหรัฐประสบปัญหาวิกฤติ สินเชื่อซับไพรม์ เดือน พ.ย.ปีนั้นยูโรโซนเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่นาน 1 ปี

ปี 2553 อียูติดหล่มวิกฤติหนี้สิน เดือน พ.ค.อียูและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ให้เงินช่วยเหลือ 1.1 แสนล้านยูโร เพื่ออุ้มกรีซ แต่กรีซก็ต้องมีแผนรัดเข็มขัดอย่าง เข้มงวด 1 เดือนต่อมาเงินยูโรดิ่งต่ำกว่า 1.20 ดอลลาร์

เดือน พ.ย.ไอร์แลนด์ประสบปัญหาธนาคารหนี้ท่วม ต้องรับเงินช่วยเหลือจากอียู/ไอเอ็มเอฟ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามด้วยโปรตุเกสรับเงินช่วยเหลือ 7.8 หมื่นล้านยูโรในเดือน พ.ค.2554

ปกป้องยูโร

วันที่ 25 ก.ค.2555 ดอกเบี้ยระยะยาวสเปนพุ่งขึ้นเหนือระดับ 7.6% ทำให้กลัวกันมากว่ายูโรจะล่มสลาย วันรุ่งขึ้น มาริโอ ดรากี ประธานธนาคาร กลางยุโรป (อีซีบี) รับปากว่าจะทำทุกอย่างเพื่อรักษาเงินยูโร

เดือน ส.ค.อีซีบีซื้อคืนพันธบัตร 1 สัปดาห์ของชาติสมาชิกยูโรโซน มูลค่า 2.2 หมื่นล้านยูโร เพื่อพยุงอิตาลีและสเปนต่อมาอียูยอมรับใน เดือน ต.ค.ว่าจะล้างหนี้กรีซบางส่วนพร้อมกับให้ สินเชื่อชุดใหม่

เลี่ยง 'เกร็กซิท'

เดือน พ.ค.2557 เงินยูโรแข็งค่ามาอยู่ที่เกือบ 1.40 ดอลลาร์ ส่งผลกระทบต่อการส่งออก หลายเดือนต่อมาอ่อนค่าลงเกือบถึงระดับ 1.05 ดอลลาร์ต่อ 1 ยูโร ผลพวงจากอีซีบีเข้าซื้อสินทรัพย์เพื่อพยุงเศรษฐกิจ

เดือน ก.ค.2558 กรีซได้รับเงินช่วยเหลือระลอกที่ 3 เพื่ออุ้มไว้ไม่ให้ต้องหลุดออกไปจากยูโรโซน อย่างที่เรียกกันว่า "เกร็กซิท"

ธนบัตร 'บิน ลาเดน'

ปี 2559 อีซีบีเผยแผนเตรียมยุติออก ธนบัตร 500 ยูโรภายในสิ้นปี 2561 ธนบัตรราคานี้รู้จักกันในชื่อ "บิน ลาเดน" เชื่อว่าเหล่าอาชญากรรมนิยมใช้ฟอกเงินและเป็นทุนหนุนการก่อการร้าย

เปิดใจอดีตประธานยูโรกรุ๊ป

กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 1 ม.ค.2562 จะครบรอบ 20 ปี เขตเศรษฐกิจใหญ่ในยุโรปใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลเดียวกัน "เจอโรน ดิสเซลโบลม" อดีตประธานยูโรกรุ๊ป กลุ่มรัฐมนตรีคลังประเทศที่ใช้เงินยูโร กล่าวว่า เงินยูโรเป็นที่มาของความมีเสถียรภาพ ท่ามกลางกระแสประชานิยม

อดีตรัฐมนตรีคลังเนเธอร์แลนด์รายนี้ เคยเป็น ประธานยูโรกรุ๊ป ดูแล 19 ประเทศที่ใช้เงินยูโร ระหว่างปี 2013-2018 หลังผ่านพ้นวิกฤติหนี้สินกรีซ ถึงวันนี้ดิสเซนโบลมกล่าวว่า เงินยูโรจำเป็นต้องมีกันชนแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ป้องกันสิ่งที่จะสะเทือนตลาดในอนาคตแต่ก็ยังเป็นสมอเรือในช่วงเวลาที่อนาคตการเมืองยุโรปไม่แน่ไม่นอนจากพลังชาตินิยมที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ

ต่อข้อถามที่ว่า ยูโรกรุ๊ปยังเป็นองค์กรตัดสินใจ ที่ดีที่สุดใช่หรือไม่ อดีตประธานยืนยันว่า 10 ปีที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่า ยูโรกรุ๊ปตัดสินใจได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดในอียู คณะรัฐมนตรีเห็นพ้องกัน เป็นเอกฉันท์ไม่เคยจำเป็นต้องโหวตลงมติ

สำหรับฝันร้ายของสหภาพยุโรป (อียู) หนีไม่พ้น เรื่องวิกฤติหนี้สิน แล้วหากเกิดวิกฤติแบบกรีซขึ้นอีกครั้งจะหมายถึงจุดสิ้นสุดของยูโรโซนหรือไม่ ดิสเซลโบลม กล่าวว่า วิกฤติแบบกรีซ รวมถึงผลกระทบ แบบนั้นจะไม่เกิดขึ้นอีก ตอนนั้นปัญหาเกิดจากการ ปล่อยสินเชื่อสะเปะสะปะเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

"เงินกู้จำนวนมากอนุมัติกันง่ายๆ โดยไม่ได้นำไป ลงทุนแต่นำไปบริโภค บ้างก็นำไปสร้างฟองสบู่ภาคอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นในช่วงที่เราลดกฎระเบียบภาคธนาคาร ซึ่งเป็น ความผิดใหญ่หลวงเหนือเรื่องใดทั้งหมด"

ดิสเซลโบลม กล่าวว่า ยูโรโซนค่อยๆ ออกจาก วิกฤติแต่ฟื้นตัวแข็งแกร่งนับจากนั้น วิกฤติรอบต่อไป เป็นไปได้มากกว่ามาจากสหรัฐอีกรอบ หรือไม่ก็มาจากจีน สิ่งที่เราทำได้มากที่สุดตอนนี้คือเตรียมตัวให้พร้อมที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตอนนี้ยูโรโซนมีกันชนน้อยเกินไป ยูโรกรุ๊ปจึงต้องมีงานให้ต้องทำอีกมาก

ภาพที่เห็นในตอนนี้คือหลายประเทศที่แม้ไม่เชื่อใจอียูนักอย่างอิตาลี ก็ยังอยากอยู่ในยูโรโซนต่อไป

อดีตประธานยูโรกรุ๊ปกล่าวว่า คำตอบมีง่ายๆ คือ ยูโรและสถาบันของยูโรขณะนี้เป็นเครื่องรับประกัน ต่อเสถียรภาพ ที่นักการเมืองบางคนให้ไม่ได้

ส่วนการจะทำให้ยูโรยืนยาวไปอีก 20 ปีในทัศนะ ของดิสเซลโบลม

"คำตอบไม่ใช่เรื่องยาก ก็ต้องทำสภาพธนาคารให้แล้วเสร็จ ตั้งสหภาพตลาดทุนที่แท้จริงขึ้นในยุโรป ตอนนี้ธนาคารยังมีอิสระมากเกินไป และจำเป็นต้องมี การลงทุนในหุ้นให้มากขึ้น 2 องค์ประกอบนี้จะช่วยพัฒนาบรรยากาศการลงทุนได้มหาศาล"

วิกฤติหนี้สินแบบกรีซ รวมถึงผลกระทบแบบนั้นจะไม่เกิดขึ้นอีก

Source: กรุงเทพธุรกิจ

เพิ่มเติม
- 20 years on, euro a currency giant on fragile footing: https://www.straitstimes.com/…/20-years-on-euro-a-currency-…

- A look back at the euro's 20 years:https://www.businesstimes.com.sg/…/a-look-back-at-the-euros…


ติดตามข่าวสารการเงิน เศรษฐกิจรอบโลกได้ที่ คลิ๊ก
เข้ากลุ่มนักเทรดใน Facebook คลื๊ก นี้
สนใจเรียนรู้การเป็นTrader กับกูรู คลิ๊ก


 

0 Share